Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสันต์ สัมปัตตะวนิช-
dc.contributor.authorมัทยา บุตรงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2015-07-23T06:37:34Z-
dc.date.available2015-07-23T06:37:34Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44117-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางรายได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะสองทิศทาง นั่นคือถ้าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มขึ้นจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้น และถ้าความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้นก็ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์จีนีทางการศึกษาเป็นตัวแทนในการวัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และใช้สัมประสิทธิ์จีนีทางรายได้เป็นตัวแทนในการวัดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ โดยทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดสองขั้น (Two Stage Least Square: 2SLS) กับข้อมูลรายจังหวัดของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2552 ทั้ง 73 จังหวัดในปี พ.ศ. 2531-2535 และ 76 จังหวัดในปี พ.ศ. 2537-2552 ผลการศึกษาพบว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางรายได้มีความสัมพันธ์ต่อกันในทิศทางเดียวกัน ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเช่นกัน ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร และสัดส่วนของประชากรที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่ออุตสาหกรรม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาก็ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเช่นกัน ผลการศึกษาจากการทดสอบสมมติฐานคุซเนททางรายได้พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทยเป็นไปตามสมมติฐานของคุซเนท และผลการศึกษาจากการทดสอบสมมติฐานคุซเนททางการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยไม่เป็นไปตามสมมติฐานของคุซเนทen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has objective to investigate the relationship between education inequality and income inequality. The hypothesis is the education inequality and income inequality has the relationship in two ways effect. The education inequality is measured by Gini education coefficient and the income inequality is measured by Gini income coefficient. I examine the relation between education inequality and income inequality by the method of Two Stages Least Square (2SLS) with Panel data in Thailand in 1988-2009. The results showed that educational inequality and income inequality are related to each other in the same direction. Educational inequality increased income inequality increased. While income inequality to increase educational inequality increased as well. This study indicated that the average year of schooling and the proportion of agriculture by manufacture associated with income inequality and education inequality. Moreover, the education expenditure also had impact with education inequality as well. The result also showed that the relation between economic growth and income inequality was follow Kuznets hypothesis tested, but the relation between average year of schooling and education inequality was not follow Kuznets hypothesis tested.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.428-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษา -- แง่เศรษฐกิจen_US
dc.subjectความเสมอภาคทางการศึกษา -- ไทยen_US
dc.subjectการกระจายรายได้ -- ไทยen_US
dc.subjectEducation -- Economic aspectsen_US
dc.subjectEducational equalization -- Thailanden_US
dc.subjectIncome distribution -- Thailanden_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe relationship between education inequality and income inequality in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSan.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.428-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mattaya_bo.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.