Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44158
Title: อิทธิพลของลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสุขภาวะทางจิต : การแบ่งมีติลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกและเชิงลบ
Other Titles: Effects of perfectionism on academic achievement and psychological well-being : the two dimensions of perfectionism
Authors: รวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา
วิรัลพัชร เลิศธีรเรืองกุล
วุฒิ พูลสมบัติ
Advisors: กมลกานต์ จีนช้าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การยึดติดความสมบูรณ์แบบ
สุขภาวะ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Perfectionism (Personality trait)
Well-being
Academic achievement
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสุขภาวะทางจิต ของนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 270 คน ผู้ร่วมการวิจัยตอบมาตรวัดลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมโดยแบ่งเป็นลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกและเชิงลบ มาตรวัดความพึงพอใจในชีวิต และมาตรวัดความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบ โดยสลับลำดับการทำมาตรด้วยวิธีการสุ่ม ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.1. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตในทิศทางบวกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางได้ร้อยละ 11 (R2 = .11, β = 0.48, p < .001) 1.2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงลบสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตในทิศทางลบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางได้ร้อยละ 21 (R2 = .21, β = -0.41, p < .001) 2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.1. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทิศทางบวกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 14 (R2 = .14, β = 0.43, p < .001) 2.2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงลบสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทิศทางลบได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 8 (R2 = .08, β = -0.36, p < .001)
Other Abstract: The purpose of this research was to examine the effects of healthy perfectionism and unhealthy perfectionism on academic achievement and psychological well-being. Two hundred and seventy undergraduate students in Chulalongkorn University completed the measures of perfectionism, academic achievement and psychological well-being (life satisfaction and positive and negative affect) in random orders. Results are as follow: 1. Healthy perfectionism significantly predicts psychological well-being and explains 11% of the variance in psychological well-being (R2 = .11, β = 0.48, p < .001) 2. Unhealthy perfectionism significantly predicts psychological well-being and explains 21% of the variance in psychological well-being (R2 = .21, β = -0.41, p < .001) 3. Healthy perfectionism significantly predicts academic achievement and explains 14% of the variance in academic achievement (R2 = .14, β = 0.43, p < .001) 4. Unhealthy perfectionism significantly predicts academic achievement and explains 8% of the variance in academic achievement (R2 = .08, β = -0.36, p < .001)
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44158
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
raweeroj_le.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.