Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44202
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ-
dc.contributor.authorนันทศักดิ์ มะลิลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-07-29T07:45:13Z-
dc.date.available2015-07-29T07:45:13Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44202-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพ และสินค้าและบริการอื่นของครัวเรือนไทย ก่อนและหลังโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน จากข้อมูลรายงานการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนกับค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ได้อาศัยวิธี Heckman Two-step Estimator เนื่องจากมีบางครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพเป็นศูนย์ ในขณะที่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนกับค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการอื่น ทำการประมาณค่าโดยอาศัยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square) เนื่องจากไม่มีครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการอื่นเป็นศูนย์ ผลการศึกษาเชิงปริมาณแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ได้แก่ ภูมิภาคที่ตั้งครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ลักษณะชุมชนที่อยู่อาศัย การครอบครองที่อยู่อาศัยของครัวเรือน เพศหัวหน้าครัวเรือน การศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน รายได้ของครัวเรือน และการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของหัวหน้าครัวเรือน มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพ และสินค้าและบริการอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 โดยพบว่า ครัวเรือนที่อยู่ในกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพ และสินค้าและบริการอื่นสูงกว่าครัวเรือนที่อยู่ในภาคอื่นๆ นอกจากนั้นพบว่า หากหัวหน้าครัวเรือนอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครัวเรือนจะมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพสูงกว่าครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนไม่อยู่ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือครัวเรือนอยู่ในระบบสวัสดิการข้าราชการและระบบประกันสังคมen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to investigate the expenditure pattern of medical and healthcare services and the consumption pattern of Thai households before and after the universal health coverage scheme and the influence of socio-economic variables using Heckman selection model technique to find the factors that influence the expenditure pattern of medical and healthcare services. And using the ordinary least square (OLS) technique to measure the determinant factors of non-health consumption expenditure. Data used in this study were from Socio-Economic Survey (SES) in 2000 and 2009 by National Statistical Official. The quantitative results show that the characteristics of household such as the part of area that household situated, number of household member, municipality, household ownership, gender of head of the household, education level of head of the household, income of the household, and availability of universal health care for the household are important and statistically significant determination factor of the pattern of health expenditure. For example, household lived in Bangkok would have health expenditure significantly higher than other region. Moreover, if the head of household is covered by the universal health care coverage scheme, the health expenditure of that household would be higher compared with the household that the head is not covered by the universal health care coverage scheme at 99% significant level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.430-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ -- ไทยen_US
dc.subjectบริการสาธารณสุขแห่งชาติ -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทยen_US
dc.subjectบริการสาธารณสุขแห่งชาติ -- ไทยen_US
dc.subjectสาธารณสุข -- ไทยen_US
dc.subjectสาธารณสุข -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทยen_US
dc.subjectCost and standard of living -- Thailanden_US
dc.subjectNational health services -- Economic aspects -- Thailanden_US
dc.subjectNational health services -- Thailanden_US
dc.subjectPublic health -- Thailanden_US
dc.subjectPublic health -- Economic aspects -- Thailanden_US
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทย ก่อนและหลังโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.title.alternativeAnalysis of household expenditure patterns in Thailand before and after the universal coverage schemeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripen.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.430-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantasak_ma.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.