Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44230
Title: การเพิ่มโทษกรณีการกระทำความผิดซ้ำในคดีสิ่งแวดล้อม
Other Titles: The increase of punishment for recidivism in environmental cases
Authors: ณิชาภา จตุพัฒนกุล
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Mattaya.J@Chula.ac.th
Subjects: กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย
การลงโทษ
การกระทำผิดซ้ำ
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
Environmental law -- Thailand
Punishment
Recidivism
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกระทำความผิดในคดีสิ่งแวดล้อมถือเป็นความผิดทางอาญา การกำหนดบทลงโทษไว้ในคดีสิ่งแวดล้อมจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการยับยั้งผู้กระทำความผิด แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าโทษทางอาญาที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลายฉบับยังต่ำเกินไป ผู้กระทำความผิดจึงไม่เกิดความเกรงกลัวและยังคงกลับมากระทำความผิดอีกแม้จะเคยได้รับโทษมาแล้ว ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “การกระทำความผิดซ้ำ” แนวคิดในทางกฎหมายอาญาใช้วิธีการเพิ่มโทษเมื่อมีการกระทำความผิดซ้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้แค้นทดแทนและเพื่อเป็นการข่มขู่ยับยั้งอาชญากรรม แต่การเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดซ้ำในคดีสิ่งแวดล้อมมีปรากฎอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเพียงบางฉบับเท่านั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เป็นเหตุให้ต้องนำหลักเกณฑ์การเพิ่มโทษกรณีการกระทำความผิดซ้ำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92-94 มาใช้บังคับซึ่งยังไม่มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการไม่สามารถเพิ่มโทษปรับได้ ทำให้ผู้กระทำผิดที่เป็นนิติบุคคลไม่เกิดความเกรงกลัว ในขณะที่คดีความผิดประเภทอื่น เช่น คดีการพนัน คดีทรัพย์สินทางปัญญา มีการบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดซ้ำไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ในกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฮ่องกง มีบทบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกรณีการกระทำความผิดซ้ำกำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและยืดหยุ่นกว่าในประมวลกฎหมายอาญา อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโทษปรับได้อีกด้วย ผู้วิจัยเห็นควรให้นำเรื่องการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดซ้ำมาบัญญัติไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักด้านการควบคุมมลพิษของประเทศไทย อีกทั้งยังควรบัญญัติเรื่องการเพิ่มโทษกรณีการกระทำความผิดซ้ำไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย นอกจากนี้ ควรนำมาตรการเสริมอื่นๆมาบัญญัติไว้ในกฎหมายโดยบังคับใช้ควบคู่ไปกับการเพิ่มโทษด้วย เช่น มาตรการในการแก้ไขฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการลงโทษในเชิงสร้างสรรค์ที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายสามารถกลับคืนมาได้อย่างยั่งยืน เป็นผลดีต่อคนรุ่นหลังและทรัพยากรธรรมชาติต่อในอนาคต
Other Abstract: The offence in environmental cases is deemed as criminal offence. For that reason, the criminal punishment is necessary for deterring the offenders from doing the further harm to the environment. However, the less severity of the punishment prescribed in the present environmental law reflects some problems in term of law enforcement. That is because it cannot be obstructed the offenders from recommitting the offence or generally known as “Recidivism of the crime”. As can be seen, the concept of criminal law most likely increases the punishment for the purpose of retribution and deterrence when recidivism of the crime occurs. Nevertheless, the provisions in respect of increasing the criminal punishment in environmental cases have been found in two environmental acts; Factory Act B.E. 2535 and Hazardous Substance Act B.E. 2535. As a result, the application of section 92-94 of the Criminal Code to this case is necessary even though this approach is ineffective other environmental cases. On the one hand, the Criminal Code ’s increase the punishment provisions are inappropriate to adapt to environmental cases such as the inapplicable of increasing the fine penalty which makes it inefficient to subject juristic persons to the increased punishment. On the other hand, other offences like gambling and intellectual property cases have the particular provisions in increasing the punishment for the offenders. Notably, environmental law in several countries such as United States, Australia, Singapore and Hong Kong have provided more flexible and suitable legal provisions including other approaches for increasing fine to cope with the recidivism of environmental law offences. As mentioned above, the legal provision regarding the increase of punishment for recidivism should be promulgated and applied in environmental laws, especially in Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E. 2535 which is Thai’s main law in controlling pollution and in others natural resources preservation-related laws. Also, other supplementary measures should be regulated along with the core measures in order to strengthen the severity of the punishment for environmental offences. For example, the clean up enforcement that deemed as a creative and positive punishment in restoration of environment to the way it is before damaged and producing sustainable results to the future generations.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44230
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nichapa_ja.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.