Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44237
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่ : การวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้เอสอีเอ็มกลุ่มพหุ |
Other Titles: | Development of parenting quality indicators : an analysis of psychometric properties using multigroup SEM |
Authors: | พนิดา มารุ่งเรือง |
Advisors: | สุวิมล ว่องวาณิช กมลวรรณ ตังธนกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | wsuwimon@chula.ac.th tkamonwan@hotmail.com |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การเป็นบิดามารดา การทดสอบทางจิตวิทยา การวัดทางจิตวิทยา บิดามารดา -- การทดสอบทางจิตวิทยา Parenting Psychological tests Psychometrics Parents -- Psychological testing |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่ด้านความตรง ความเป็นปรนัย ความเป็นไปได้ ความยาก อำนาจจำแนก และความเที่ยง 2) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่ตามสถานภาพการเป็นพ่อแม่ ระดับชั้นเรียนของลูก และเศรษฐานะของครอบครัว 3) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพความเป็นพ่อแม่ 4) เพื่อสำรวจคุณภาพความเป็นพ่อแม่ในสังคมไทยจากตัวบ่งชี้รวมที่พัฒนาขึ้น และ 5) เพื่อพัฒนาดัชนีคุณภาพความเป็นพ่อแม่ ตัวอย่างในการวิจัยคือพ่อแม่ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ จำนวน 3,122 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามคุณภาพความเป็นพ่อแม่ จำนวน 90 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ t-test และ MANOVA การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุด้วยโปรแกรมลิสเรล การวิเคราะห์ Graded-Response Model ด้วยโปรแกรม MULTILOG การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามโดยวิธี polytomous-SIBTEST การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนและความไวของตัวบ่งชี้รวม และการกำหนดเกณฑ์ปกติวิสัยของตัวบ่งชี้รวมคุณภาพความเป็นพ่อแม่โดยแปลงคะแนนตัวบ่งชี้รวมให้อยู่ในรูปเปอร์เซ็นต์ไทล์ (percentile) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ มี 3 ตัวบ่งชี้คือ การมีส่วนร่วมที่บ้าน การมีส่วนร่วมที่โรงเรียน และการสื่อสารระหว่างบ้านกับโรงเรียน องค์ประกอบที่ 2 ความยึดมั่นผูกพันกับการเป็นพ่อแม่ มี 3 ตัวบ่งชี้คือ การให้ความรักและความไวในการตอบสนอง การให้อิสระในการปกครองตนเอง และการเรียนรู้ร่วมกับลูกอย่างกระตือรือร้น องค์ประกอบที่ 3 ศักยภาพความเป็นพ่อแม่ มี 6 ตัวบ่งชี้คือ การดูแลขั้นพื้นฐาน การดูแลด้านความปลอดภัย การให้ความอบอุ่น การส่งเสริมการเรียนรู้ การให้คำแนะนำและเป็นแบบอย่างที่ดี และการให้ความมั่นคงทางจิตใจ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่พบว่ามีความตรงตามเนื้อหา (ค่าดัชนี IOC ระหว่าง 0.57-1.00) มีความเป็นปรนัย มีความเป็นไปได้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความยากและอำนาจจำแนกเหมาะสม มีค่าความเที่ยงสูง (α = 0.752 – 0.905) มีความตรงเชิงโครงสร้าง (chi square = 34.343, df = 24, p = 0.079, GFI = 0.998, AGFI = 0.994, RMR = 0.002, RMSEA = 0.011) มีความตรงเชิงจำแนก และพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามตามตัวแปรระดับชั้นเรียนของลูก 53 ข้อ เศรษฐานะของครอบครัว 38 ข้อ และสถานภาพการเป็นพ่อแม่ 19 ข้อ โดยมีค่าดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม อยู่ระหว่าง -0.142 ถึง 0.099 2. ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่ตามสถานภาพการเป็นพ่อแม่ ระดับชั้นเรียนของลูก และเศรษฐานะของครอบครัว พบว่าโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่มีรูปแบบโมเดลและสถานะของพารามิเตอร์ในเมทริกซ์ LY ไม่แปรเปลี่ยนระหว่างสถานภาพการเป็นพ่อแม่และเศรษฐานะของครอบครัว แต่เมื่อพิจารณาตามตัวแปรระดับชั้นเรียนของลูกพบว่าโมเดลตัวบ่งชี้คุณภาพความเป็นพ่อแม่มีรูปแบบโมเดลไม่แปรเปลี่ยน แต่มีสถานะของพารามิเตอร์ในเมทริกซ์ LY แปรเปลี่ยนระหว่างระดับชั้นเรียนของลูก 3. โมเดลที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพความเป็นพ่อแม่คือการแทนค่าข้อมูลสูญหายด้วยค่าเฉลี่ย การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้ย่อยโดยใช้ค่าน้ำหนักที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการรวมคะแนนตัวบ่งชี้รวมด้วยโมเดลผลบวก 4. ผลการสำรวจคุณภาพความเป็นพ่อแม่ในสังคมไทยพบว่าพ่อแม่มีคุณภาพความเป็นพ่อแม่อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพความเป็นพ่อแม่ตามตัวบ่งชี้รวมที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 7.98 คะแนน โดยแม่มีคุณภาพความเป็นพ่อแม่สูงกว่าพ่อ พ่อแม่ที่มีเศรษฐานะของครอบครัวสูงมีคุณภาพความเป็นพ่อแม่สูงกว่าพ่อแม่ที่มีเศรษฐานะของครอบครัวต่ำ และพ่อแม่ของนักเรียนระดับประถมศึกษามีคุณภาพความเป็นพ่อแม่สูงกว่าพ่อแม่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 5. ผลการพัฒนาดัชนีคุณภาพความเป็นพ่อแม่มีค่าระหว่าง 0-1 ค่าดัชนีน้อยกว่า 0.40 เป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพความเป็นพ่อแม่ต่ำ ค่าดัชนีระหว่าง 0.40 – 0.82 เป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพความเป็นพ่อแม่ปานกลาง ส่วนค่าดัชนีมากกว่า 0.82 เป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพความเป็นพ่อแม่สูง ในภาพรวมพ่อแม่ในสังคมไทยมีค่าดัชนีคุณภาพความเป็นพ่อแม่เฉลี่ยเท่ากับ 0.70 |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to develop and investigate the psychometric properties of parenting quality indicators in terms of validity, objectivity, feasibility, difficulty, and discrimination as well as reliability, 2) to examine the measurement invariance of the model of the parenting quality indicators based on parent’s status, child’s grade, and socio-economic status, 3) to develop composite indicators of parenting quality, 4) to explore the parenting quality of Thai parents based upon the composite indicators constructed, and 5) to develop the parenting quality index. The research sample was 3,122 parents of primary and secondary school students from the Basic Education Commission. This sample was selected using multi-stage random sampling. The data were collected using a parenting quality questionnaire and were analyzed using descriptive statistics, correlation, t-test, and MANOVA by using SPSS. The second order confirmatory factor analysis and multi-group analysis were analyzed by using LISREL and a Graded-Response Model was also analyzed using MULTILOG. Furthermore, content analysis, uncertainty analysis, and sensitivity analysis were all conducted to examine the composite indicators of parenting quality. Additionally, the differential item functioning was analyzed by using polytomous-SIBTEST. The norm was also determined based on the scores of the composite indicators of parenting quality, and the scores were transformed into percentiles. The majors finding were as follows: 1. The parenting quality indicators consisted of three factors. The first factor was parental involvement which was composed of three indicators: home-based involvement, school-based involvement, and home-school communication. The second factor was parental engagement which was comprised of three indicators as follows: warmth and sensitivity, support for the child’s emerging autonomy, and active participation in learning. The third factor was parenting capacity which comprised six indicators, namely basic care, ensuring safety, emotional warmth, stimulation, guidance and boundaries, and stability. The parenting quality indicators had content validity (IOC = 0.57-1.00), objectivity, feasibility, proper difficulty and discrimination indexes, and high internal consistency (α = 0.915 – 0.956). The parenting quality indicators also had construct validity (chi square = 34.343, df = 24, p = 0.079, GFI = 0.998, AGFI = 0.994, RMR = 0.002, RMSEA = 0.011), and discriminant validity. Moreover, the parenting quality indicators had sufficient levels of difficulty and discrimination. Differential item functioning indicated that the DIF index varied from -0.142 to 0.099. 19 items from parent’s status, 53 items from child’s grade, and 38 items from socio-economic status were significantly different from zero at the .05 level. 2. The model and parameters of the parenting quality indicators did not vary according to the parent’s status and socio-economic status. However, they were the only parameters that were found to vary in accordance with the child’s grade. 3. The proper model for parenting quality development was reached through the use of the mean score in place of missing data, the determination of indicator weighting using factor loadings from confirmatory factor analysis, and the aggregation of additive model. 4.Thai parents had a moderate pareting quality and the average score for composite indicators of parenting quality was 7.98. Thai mothers had a higher parenting quality than Thai fathers, and parents with high socio-economic status possessed a higher parenting quality than those whose socio-economic status was low. Moreover, the parenting quality of primary school students’ parents was higher than that of secondary school students’ parents. 5. The parenting quality indexs ranged between 0 and 1. The index of less than 0.4 indicated low parenting quality, the index of between 0.40-0.82 indicated moderate parenting quality, and the index of more than 0.82 indicated high parenting quality. Overall, Thai parents had an average parenting quality index of 0.70. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44237 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.478 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.478 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panida_ma.pdf | 3.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.