Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44304
Title: การออกแบบสิ่งทอล้านนาร่วมสมัยเพื่อการตกแต่งภายใน
Other Titles: Contemporary Lan Na textile designs for interior decoration
Authors: ใจภักดิ์ บุรพเจตนา
Advisors: พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornsanong.v@chula.ac.th
Subjects: หัตถกรรมสิ่งทอ
การออกแบบลายผ้า
การตกแต่งภายใน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Textile crafts
Textile design
Interior decoration
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยฉบับนี้ เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนามรดกสิ่งทอให้มีรูปแบบร่วมสมัย และเหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบัน โดยการนำลักษณะเด่นของสิ่งทอล้านนา โดยเฉพาะของชาวไทยวนและชาวไทลื้อ มาออกแบบใหม่ ทั้งทางด้านวัสดุ รูปแบบ ลวดลาย และกรรมวิธีการผลิต ให้สามารถตอบสนองรสนิยมและความต้องการผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ที่ใช้ในการตกแต่งภายใน ของผู้บริโภคร่วมสมัย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองส่วนคือ (1) ส่วนแรกเป็นการประเมินลักษณะเด่นของสิ่งทอล้านนาแบบดั้งเดิม จากประชากรภาพสิ่งทอไทยวนและไทลื้อ จำนวน 70 ภาพ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อนำไปประกอบแบบสอบถาม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอล้านนาจำนวนห้าราย เป็นผู้ตอบ แล้ววัดข้อมูลตามสเกลแบ่งกลุ่ม (Nominal Scale) และตอบคำถามการสัมภาษณ์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (2) ส่วนที่สอง เป็นการประเมินรสนิยมและความต้องการด้านสิ่งทอที่ใช้ในการตกแต่งภายในของผู้บริโภค และการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรสองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ ผู้บริโภคในเขตล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ และน่าน จำนวน 100 ตัวอย่าง และที่เหลืออีก 100 คือตัวอย่างจากเขตกรุงเทพมหานคร วัดและเก็บรวบรวมข้อมูลตามสเกลอันดับ (Ordinal Scale) โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการประเมินพบว่า (1) สิ่งทอล้านนามีลักษณะเด่นอยู่ใน ลวดลายผ้าลายจก ลายขิด ลายเกาะ และลายสร้างสรรค์ตามอุดมคติ (2) ผู้บริโภคสิ่งทอนิยมตกแต่งห้องรับแขกแบบผสมผสาน แบบร่วมสมัย และแบบย้อนยุค และ (3) แนวโน้มการออกแบบปี ค.ศ. 2012 คือ กลุ่มวัฒนธรรมพื้นถิ่น กลุ่มคิดบวก และกลุ่มความธรรมดานิยามใหม่ (4) กลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคสิ่งทอล้านนาแบบร่วมสมัย คือ Gen x กลุ่ม B ระดับ Middle- Middle ผู้บริโภค Gen x นิยมสิ่งทอที่ผลิตจากวัสดุที่สะดวกในการดูแลรักษาเป็นสำคัญ ผู้วิจัยจึงเลือกใช้ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ในกลุ่มโพลีเอสเตอร์ เพราะ (1) ความสะดวกในการดูรักษา นอกจากนั้น (2) ยังมีประโยชน์ใช้สอยที่ดี (3) ราคาถูกกว่าผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ (4) มีผิวสัมผัสหลากหลายให้เลือกใช้ (5) มีผิวสัมผัสที่ให้ความรู้สึกเหมือนผ้าทอด้วยเส้นใยธรรมชาติ และ (6) มีผ้าที่ผสมเส้นใยพิเศษ เป็นสีเงินและสีทองอีกด้วย ในส่วนของกรรมวิธีการผลิตลวดลาย ผู้วิจัยเลือกใช้ (1) เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอล เพราะให้สีสัน และลวดลายได้ตามแบบอย่างแม่นยำและรวดเร็ว (2) การตกแต่งลวดลายด้วยวิธีการปัก และเสริมวัสดุอื่นๆลงบนพื้นผิว เพื่อให้เกิดมิติที่สาม งานออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าสำหรับผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน เป็นผลมาจากการนำเค้าโครงที่สำคัญของแม่ลายล้านนามา (1) จัดองค์ประกอบเป็นรูปแบบเชิงเรขาคณิต รูปแบบกึ่งนามธรรมและรูปแบบนามธรรม (2) ใช้เส้นสร้างรูปทรงอิสระ ด้วยการ ทับซ้อน บิด ขยาย เกิดมิติที่สามและลวงตา และ (3) ใช้แม่สีเดิมจากงานออกแบบล้านนา และกลุ่มสีตามแนวโน้มปี ค.ศ. 2012 เป็น คอลเลคชั่น โซฟา เก้าอี้ที่นั่งเดี่ยว สตูล โต๊ะกลาง หมอนอิง โคมไฟ และสิ่งทอประดับผนัง ซึ่งมีความโดดเด่น และแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายทั่วไป นับเป็นการนำมรดก มาสร้างสรรค์เพื่อสืบทอดคุณค่าทางความงาม ที่อาจนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาสิ่งทอสไตล์อื่นๆ ต่อไปได้
Other Abstract: The purpose of this research is to build a guideline for the development of textile design heritage into Thai contemporary lift. The design uniqueness characteristics of Lan na textile, specifically, Thai Yuan and Thai Lue, which are so popular for interior decorating from the consumer view point were selected for study. Their style, pattern, material and method of production found were incorporated into interior decorative products in response to the today’s requirement. A data collection procedure consists of two parts. (1) An evaluation of the uniqueness characteristics of the original Lan na textile from 70 of purposive selected sampled prints by the textile experts. The data were measured by nominal scale from a pretested questionnaire. (2) An evaluation of consumers need and taste of textile for interior decoration. The data were obtained by ordinal scale measured of the responses to the questionnaire of 100 each from the randomly selected samples in Lan na area and the greater Bangkok area. After both were statistically analyzed, there were some indications that: (1) the uniqueness characteristics were apparent in Lai Jok, Lai Kit, Lai Ko and the imaginary patterns; (2) consumers preferred interior decoration with mix and match style, contemporary style and old fashioned style; (3) and the trend of 2012 were from local culture group, positive thinking group, new definition for normal group; (4) and Gen X B group of Middle-Middle level was the target group for contemporary Lan na textile designs. In the product design and development phase, as Gen X consumers prefer textile products made from easy care materials, the researcher turned to polyester cloths since they are (1) convenient to maintain, (2) better functioning, (3) more economical than natural fiber, (4) having many touches of feeling to select, (5) having the touch of weaving textile, (6) having special texture with golden and silver threads. For the method of production of design patterns, the researcher selected (1) the digital printing technology for its high precision in design reproduction and speed. (2) an embroidery technique and an appliqué technique to create the third dimension to the designs. The designs of Lan na textile for contemporary interior decorative products were the resulted of bringing in the important structure of original design patterns and (1) rearranging the composition into the geometry forms, the semi abstract forms and the abstract forms; (2) using various kinds of lines to create free forms of overlapping, twisting, extending, dimension and illusion; (3) using mother colours of red, blue, yellow, and black of original Lan na designs and a group of colours from the year 2012 trend, that turned into collections of sofa, armchairs, armless chairs, coffee tables, cushion, lamps and tapestry. They are so different from the product now available in the market. This may be considered as a way of bringing in national heritage culture to create contemporary products for daily life which might as well applied to other besides Lan na style.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44304
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.551
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.551
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaipak_bu.pdf15.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.