Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44308
Title: คุณลักษณะและความเข้ากันได้ทางชีวภาพของ ไฟโบรอินจากไหมบ้านสายพันธุ์ต่างๆ
Other Titles: Characteristics and biocompatibility of fibroin from various domestic silkworms
Authors: กันยาลักษณ์ แก้วประสิทธิ์
Advisors: ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล
อมรรัตน์ พรหมบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: siriporn.d@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิศวกรรมเนื้อเยื่อ
ไหม
Tissue engineering
Silk
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และความ เข้ากันได้ทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการของไฟโบรอินจากไหมบ้าน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 (NN) สายพันธุ์นครราชสีมา 1 (K1) และสายพันธุ์นครราชสีมา 2 (K8) ผลการศึกษาด้วยเทคนิค SDS-PAGE และ FTIR พบว่า ไฟโบรอินของไหมทั้ง 3 สายพันธุ์มีน้ำหนักโมเลกุลเหมือนกันและไม่พบความแตกต่างของโครงสร้างทางเคมีของฟิล์มไฟโบรอินแต่ละสายพันธุ์ นอกจากนี้สมบัติทางความร้อนและค่าศักย์เซต้าของสารละลายไฟโบรอินมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนค่ามุมสัมผัสของน้ำบนฟิล์มไฟโบรอิน พบว่า ฟิล์มไฟโบรอินสายพันธุ์ K1 มีค่าต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ NN แต่ไม่พบความแตกต่างเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ K8 เมื่อพิจารณาปริมาณและองค์ประกอบของกรดอะมิโนในสารละลาย ไฟโบรอิน พบว่า สารละลายไฟโบรอินพันธุ์ K1 มีค่าผลรวมเปอร์เซ็นต์โดยโมลของกรดอะมิโนกลุ่มที่มีความชอบน้ำมากกว่าสารละลายไฟโบรอินพันธุ์ NN ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ ค่ามุมสัมผัสของน้ำบนฟิล์มไฟโบรอิน ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ไฟโบรอินสายพันธุ์ K1 มีความชอบน้ำมากกว่าสายพันธุ์ NN อย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาการยึดเกาะ การเจริญเติบโตของเซลล์ L929 และเซลล์ต้นกําเนิดไขกระดูกของหนู (MSC) บนฟิล์มไฟโบรอินให้ผลสอดคล้องกัน คือ ฟิล์มไฟโบรอินสายพันธุ์ K1 มีแนวโน้มส่งเสริมการยึดเกาะของเซลล์ได้ดีกว่าฟิล์มไฟโบรอินอีกสองสายพันธุ์ ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์กระดูกของเซลล์ต้นกําเนิดไขกระดูกของหนูบนฟิล์มไฟโบรอินพบแนวโน้มว่า ปริมาณเอนไซม์ ALP และปริมาณแคลเซียมสะสมที่บนฟิล์มไฟโบรอินสายพันธุ์ K1 มีค่ามากกว่าฟิล์มไฟโบรอินสายพันธุ์ NN และสายพันธุ์ K8 เล็กน้อย ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากฟิล์มไฟโบรอินสายพันธุ์ K1 มีสมบัติความชอบน้ำมากกว่าสายพันธุ์ NN และ K8 ดังนั้นไฟโบรอินสายพันธุ์ K1 มีแนวโน้มช่วยส่งเสริมการยึดเกาะและการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์กระดูกได้ดีกว่าสายพันธุ์ NN และสายพันธุ์ K8
Other Abstract: The aim of this research is to compare the physicochemical properties and biocompatibility of three silk fibroin domestic races, including Nangnoi Srisaket 1 (NN), Nakhon Ratchasima 1 (K1) and Nakhon Ratchasima 2 (K8). The results on gel electrophoresis (SDS-PAGE) and FTIR showed that molecular weight and chemical conformation of all silk fibroin races were not different. They were also similar in thermal properties and zeta potential. For water contact angle on fibroin films, it was found that the contact angle of water on K1 film was significantly lower than that on NN film, but not significantly different when compared to that on K8 film. The percentages of hydrophilic amino acid groups of K1 were higher than those of the others. This corresponded with the water contact angle result. Therefore, it could be concluded that the hydrophlicity of K1 fiibroin race was significantly higher than that of NN fibroin race. The result of in vitro attachment and proliferation of L929 mouse fibroblast and bone marrow-derived mesenchymal stem cells (MSC) on silk fibroin films indicated that K1 film could enhance cell attachment slightly greater than the other two fibroin films. In vitro osteogenic differentiation of MSC was investigated by alkaline phosphatase activity (ALP) and calcium content. The results showed that K1 films promote MSC osteogenic differentiation slightly greater than NN and K8 films. Thus, K1 silk fibroin tends to enhance the attachment and proliferation better than NN silk fibroin and K8 silk fibroin.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44308
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.554
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.554
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanyaluk_ka.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.