Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44325
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิรัชชัย-
dc.contributor.authorวรงค์ศรี แสงบรรจง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-17T04:06:36Z-
dc.date.available2015-08-17T04:06:36Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44325-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลทีแพค-เอส (TPACK-S) ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติ (psychometric property) ของเครื่องมือการวัดทีแพค-เอส 3) ตรวจสอบความตรงและเปรียบเทียบความแตกต่างของโมเดลการวัดทีแพค-เอสที่เป็นโมเดลแข่งขัน และ 4) ศึกษาความแตกต่างของความรู้ตามโมเดลการวัดทีแพค-เอสที่ดีที่สุดระหว่างนิสิตนักศึกษาครูที่มี ภูมิหลังแตกต่างกัน ตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาครูจำนวน 1,058 คน ที่ได้จากการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามวัดความรู้ทีแพค-เอส จำนวน 15 องค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยใช้โปรแกรม SPSS การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1) ได้โมเดลทีแพค-เอส (TPACK-S) ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ที่เหมาะสมจำนวน 4 โมเดล ประกอบด้วยตัวบ่งชี้หลัก 4 ตัวแปร คือ ความรู้ด้านเนื้อหาสาระ (CK) วิธีการสอน (PK) เทคโนโลยี (TK) และนักเรียน (SK) และตัวบ่งชี้บูรณาการ 11 ตัวแปร คือ PCK, TCK, TPK, CK-S, PK-S, TK-S, PCK-S, TCK-S, TPK-S, TPACK, และ TPACK-S ที่มีการจัดรูปแบบโมเดลต่างกัน 4 แบบ 2) คุณสมบัติทางจิตมิติ (psychometric property) ของเครื่องมือวัดทีแพค-เอส พบว่ามีค่าความเที่ยงสูง (0.984) มีอำนาจจำแนกทุกข้อคำถาม และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมผ่านเกณฑ์ทุกตัวบ่งชี้ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง 3) โมเดลทีแพค-เอสทั้ง 4 โมเดลที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความตรง โดยโมเดลที่ 4 ซึ่งมี 15 องค์ประกอบ 60 ตัวบ่งชี้เป็นโมเดลที่ดีที่สุดเมื่อพิจารณาจากเชิงสถิติ และ 4) ผลการวัดความรู้ตามโมเดลที่ดีที่สุด กลุ่มนิสิตนักศีกษาครูที่เป็นกลุ่มเพศหญิง อายุมาก กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ทีแพค-เอสสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to 1) develop the TPACK-S model focusing on students, 2) develop and examine the psychometric property of the instrument measuring TPACK-S, 3) validate and compare the differences among the competing TPACK-S models, and 4) study the differences in the TPACK-S knowledge measuring from the best model, among groups of student teachers with different background. This study used a stratified random sample of 1,058 student teachers, a questionnaire measuring 15 components of TPACK-S knowledge, and analyzed the data using descriptive statistics, one-way ANOVA, Pearson correlation analysis with SPSS and SEM analysis with LISREL. The major findings were as follows: 1) Based upon literature review focusing on the teachers’ significant knowledge outcomes, 4 appropriate TPACK-S models were developed consisting of 4 main knowledge constructs of content (CK), pedagogy (PK), technological (TK) and student (SK), and 11 integrated constructs of PCK, TCK, TPK, CK-S, PK-S, TK-S, PCK-S, TCK-S, TPK-S, TPACK, and TPACK-S organized into 4 different forms. 2) The psychometric property of the TPACK-S instrument indicated high reliability (0.984), satisfactory discrimination indices and item-total correlation coefficients of all items, and had construct validity. 3) All of the 4 competing developed TPACK-S models were significantly fit to the empirical data and valid with the fourth model comprised of fifteen components and 60 indicators as the best statistical model. And 4) based on the best model, the group of student teachers with female gender, high age group, social sciences and humanity major, and experience in teaching with technology, had significantly higher TPACK-S means as compared to the other groups at .01 level of significant.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.571-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาen_US
dc.subjectเทคโนโลยีทางการศึกษาen_US
dc.subjectนักศึกษาครู -- การประเมินen_US
dc.subjectการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางen_US
dc.subjectPedagogical content knowledgeen_US
dc.subjectEducational technologyen_US
dc.subjectStudent teachers -- Rating ofen_US
dc.subjectStudent-centered learningen_US
dc.titleเครื่องมือและโมเดลการวัดทีแพค-เอสของนิสิตนักศึกษาครู : การพัฒนาและ วิเคราะห์เปรียบเทียบโมเดลแข่งขันen_US
dc.title.alternativeA measurement instrument and measurement models of TPACK-S of pre-service teachers : development and comparative analysis of competing modelsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
dc.email.advisorNonglak.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.571-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varongsri_sa.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.