Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44368
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดาวัลย์ วิวรรธนะเดชen_US
dc.contributor.advisorสุจาริณี คชวัฒน์en_US
dc.contributor.authorพรไพทูรย์ เหล่าสมบัติทวีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T08:12:08Z-
dc.date.available2015-08-21T08:12:08Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44368-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งทำการศึกษาการประยุกต์ใช้วิธีการหลอมแบบรีดักชันเพื่อเก็บกลับคืนโลหะจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยแหล่งของขยะอิเล็กทรอนิกส์ในงานวิจัยนี้ คือ จอซีอาร์ทีและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนการวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บกลับคืนโลหะตะกั่วจากแก้วซีอาร์ที พบว่า ณ อุณหภูมิการหลอมที่ 1200 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง ร่วมกับการคงอุณหภูมิในการแยกตัวของโลหะที่ 500 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการแยกตัว 2 ชั่วโมง เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บกลับคืน ผลจากการวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วออกไซด์ (PbO) ตกค้างในแก้วด้วยเทคนิค XRF (X-ray Fluorescence) แสดงปริมาณตะกั่วออกไซด์ตกค้างที่ต่ำที่สุด ผลวิเคราะห์นี้สอดคล้องกับปริมาณของโลหะตะกั่วที่สามารถเก็บกลับคืนได้ สภาวะที่เหมาะสมดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในการศึกษาขั้นต่อไป โดยประยุกต์ใช้ในการเก็บกลับคืนโลหะจากแก้วซีอาร์ทีและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เทคนิค EPMA (Electron Probe Micro Analysis) ในการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เกิดขึ้น พบว่า วิธีการหลอมแบบรีดักชันสามารถเก็บกลับคืนโลหะทองแดง ตะกั่ว และดีบุก อันเป็นองค์ประกอบที่มีอยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ในปริมาณสูง งานวิจัยนี้สามารถยืนยันได้ว่าวิธีการหลอมแบบรีดักชันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.abstractalternativeIn this research, an application of reduction melting method for metal recovery from the electronic waste was evaluated. The study started with heat treatments of CRT (Cathode Ray Tube) glass at various temperatures in order to identify the optimal metal recovery condition. The % remaining PbO determined by XRF (X-ray Fluorescence) showed the lowest amount when heat treatment was performed at 1200oC for 1 hour coupled with annealing at 500oC for 2 hours. The results from XRF were in line with the the % Pb recovery results. The optimal heat treatment condition was then, applied to recover metals, e.g., Cu, Pb, Sn, from an example of electronic waste; CRT glass mixed with PCB (Printed Circuit Boards). By EPMA (Electron Probe Micro Analysis), it was found that the reduction melting method could recovery high amount of metals from electronic waste. In addition, % metal recovery increased with the PCB addition. The results from this research confirmed that reduction melting is one of promising methods for metal recovery from electronic waste.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเก็บกลับคืนโลหะจากขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการหลอมแบบรีดักชันen_US
dc.title.alternativeMETALS RECOVERY FROM ELECTRONIC WASTE BY REDUCTION MELTING METHODen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมทรัพยากรธรณีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDawan.W@Chula.ac.th,dawancu@gmail.comen_US
dc.email.advisorSujarinee.K@Chula.ac.th,sujarinee.chula@gmail.comen_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570304121.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.