Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44371
Title: | การบริบาลทางเภสัชกรรมในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ |
Other Titles: | PHARMACEUTICAL CARE IN PREMATURE NEWBORNS RECEIVING PARENTERAL NUTRITION AT SAMUTPRAKARN HOSPITAL |
Authors: | พิมพรัศมิ์ ยังคง |
Advisors: | สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม ปาริชาต วงศ์งาม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | sutathip.p@chula.ac.th,sutathip@gmail.com Nutthada.A@chula.ac.th patparpanpee@gmail.com |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วย ทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำในด้านน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลง รูปแบบและจำนวนครั้งของการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันเกี่ยวข้องกับการได้รับอาหาร ทางหลอดเลือดดำ รูปแบบและจำนวนครั้งของการเกิดปัญหาจากการใช้ยา และการยอมรับข้อเสนอของเภสัชกรแก่บุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการแก้ไข หรือป้องกันปัญหาจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ปัญหาจากการใช้ยา และภาวะแทรกซ้อนอันเกี่ยวข้องกับการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ โดยทำการศึกษาในทารกเกิดก่อนกำหนดจำนวน 45 รายที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการระหว่างเดือนมกราคม 2557 ถึง เดือนมิถุนายน 2557 ผลการศึกษาพบผู้ป่วยเพศชาย 27 ราย (ร้อยละ 61.36) เพศหญิง 18 ราย (ร้อยละ 40.91) อายุครรภ์เฉลี่ย 31 ± 2.51 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแรกเกิดเฉลี่ย 1,432.44 ± 288.06 กรัม ภาวะโรคที่พบมากที่สุดได้แก่ ภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิด พบในผู้ป่วย 37 ราย (ร้อยละ 82.22) ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำจำนวน 501 ครั้ง หลังสิ้นสุดการให้อาหารทางหลอดเลือดดำพบผู้ป่วยร้อยละ 93.33 และร้อยละ 80.98 มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักคือลดลงไม่เกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัวแรกเกิดในช่วงน้ำหนักตัวลดลง (ช่วง weight loss) และมีการเพิ่มของน้ำหนักตัวมากกว่า 10 กรัมต่อวันในช่วงหลังน้ำหนักตัวลดลง (ช่วงหลัง weight loss) โดยเป็นไปตามเกณฑ์การศึกษา ตามลำดับ นอกจากนี้พบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น 334 ครั้ง โดย 245 ครั้ง (ร้อยละ 73.35) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางเมแทบอลิก ขณะที่ 89 ครั้ง (ร้อยละ 26.65) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ภาวะแทรกซ้อนทางเมแทบอลิกที่พบมากที่สุดคือ ภาวะมีฟอสเฟตในเลือดต่ำระดับที่ไม่รุนแรง พบปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยระหว่างได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ 605 ปัญหา ส่วนใหญ่ 601 ปัญหา (ร้อยละ 99.34) เป็นปัญหาจากการใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาแก่ผู้ป่วย 371 ครั้ง ได้รับการตอบรับต่อข้อเสนอแนะ 225 ครั้ง (ร้อยละ 60.45) จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำที่เตรียมขึ้นเฉพาะผู้ป่วยแต่ละรายสามารถเกิดปัญหาได้ในทุกขั้นตอนของการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องได้รับการติดตามผลของการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถค้นพบ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม บทบาทของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยการค้นพบ ติดตาม และประเมินผลจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำในข้อเสนอแนะที่ได้รับการยอมรับพบว่าสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากอาหารทางหลอดเลือดดำที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ |
Other Abstract: | The objectives of this study were to investigate the outcomes of pharmaceutical care service in premature newborns who received parenteral nutrition (PN) on their weight change, types and a number of complications relating to PN and drug- related problems and the acceptance of suggestion to medical teams about preventing and correcting drug related problems. 45 premature newborns studied and administered parenteral nutrition at Samutprakan hospital from January 2014 to June 2014. The results showed that there were 27 boys (61.36%), 18 girls (40.91%). The average gestation age was 31 ± 2.51 weeks and the average birth weight was 1,432.44 ± 288.06 g. The most common disease was respiratory distress syndrome (RDS) which were found in 37 patients (82.22%). The patients received PN 1 time/day in total of 501 times during this study. After the end of parenteral nutrition administration, 93.33% and 80.98% patients had a change in weight in accordance with the standard for both weight loss and post-weight loss periods respectively. There were 334 complications of which 245 times (73.35%) were metabolic complications and 89 times (26.65%) were mechanical complications. The most common metabolic complications was hypophosphatemia. There were 605 drug related problems found in patients during parenteral nutrition treatment. Most of the problems (601 problems, 99.34%) were drug uses relating to parenteral nutrition. There were 371 suggestions given to prevent and correct the issues and 225 of them (60.45%) were accepted. The study showed that premature newborns who received parenteral nutrition individually formulated for each patient were faced the problems in every process of parenteral administration. Hence, it needs to closely monitor in order to detect, prevent and solve the problems appropriately. The roles of pharmacist in pharmaceutical care service well accepted by medical teams can help preventing and solving the parenteral nutrition-related complications in premature newborns. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44371 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5576217333.pdf | 4.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.