Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44438
Title: | กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา |
Other Titles: | MANAGEMENT STRATEGIES TO ENHANCE TEACHER EMPOWERMENT IN ELEMENTARY SCHOOLS |
Authors: | สุมาลี สุธีกุล |
Advisors: | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ วลัยพร ศิริภิรมย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pruet.S@Chula.ac.th,pruet.s@chula.ac.th Walaiporn.S@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารที่เสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารที่เสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารที่เสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 395 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน การเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจกลุ่มบุคคล (4.0641 และ 4.0249 ตามลำดับ) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน การเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจกลุ่มบุคคล (4.5159 และ 4.5019 ตามลำดับ) 2) จุดแข็งของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา คือ การเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล ส่วนจุดอ่อน คือ การเสริมสร้างพลังอำนาจกลุ่มบุคคล โอกาสของการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษา คือ นโยบายของรัฐ และสภาพเทคโนโลยี ส่วนภาวะคุกคาม คือ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 3) กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในโรงเรียนประถมศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มี 2 กลยุทธ์หลัก คือ (1) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนและป้องกันภาวะคุกคามในการเสริมสร้างพลังอำนาจบุคคล และ (2) เสริมโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนและป้องกันภาวะคุกคามในการเสริมสร้างพลังอำนาจกลุ่มบุคคล |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to study the current and desirable state of the management to enhance teacher empowerment in elementary schools 2) to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats of the management to enhance teacher empowerment in elementary schools and 3) to develop management strategies for enhancing teacher empowerment in elementary schools. The study was mixed method research. The samples were 395 elementary schools. The instruments used in this study were the questionnaire and the strategic evaluation form of feasibility and appropriateness. The data were analyzed by frequency , percentage , average , standard deviation, PNIModified and content analysis. The results showed that 1) The current state of the management to enhance overall teacher empowerment in elementary schools were at the high level. The empowerment of individual was higher than the group empowerment (4.0641 and 4.0249 respectively). The desirable state of the management to enhance overall teacher empowerment in elementary schools were at the highest level. The empowerment of individual was higher than the group empowerment (4.5159 and 4.5019 respectively). 2) The strengths of the management to enhance the empowerment of teacher in elementary schools was the empowerment of individuals. The weaknesses of the management to enhance the empowerment of teacher in elementary schools was the empowerment of group. Opportunity for the management to enhance the empowerment of teachers in elementary schools was government policy and technology, the threat of the management to enhance the empowerment of teachers in elementary schools was the economic and society. 3) The management strategies to enhance the empowerment of teachers in elementary schools were (1) Enrich the strengths and opportunities, coupled with the reduction of weaknesses and prevention of threats to individual empowerment (2) Enrich the opportunities coupled with the reduction of weaknesses and prevention of threats to group empowerment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44438 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384475027.pdf | 7.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.