Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44439
Title: การข้ามพ้นวัฒนธรรมของสื่อการแสดงงิ้วในประเทศไทย
Other Titles: TRANSCULTURATION OF CHINESE OPERA IN THAILAND
Authors: ปรีดา อัครจันทโชติ
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thiranan.A@Chula.ac.th,tiranan_a@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการข้ามพ้นวัฒนธรรมกับความเปลี่ยนแปลงของความหมายของงิ้วในประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการข้ามพ้นวัฒนธรรมกับความเปลี่ยนแปลงของบทบาทหน้าที่งิ้วในประเทศไทย 3) แบบแผนการข้ามพ้นวัฒนธรรมของงิ้วในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 4) อำนาจที่ปรากฏอยู่ในการข้ามพ้นวัฒนธรรมในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และ 5) กระบวนการข้ามพ้นวัฒนธรรมของงิ้วในประเทศไทยในปัจจุบัน แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับงิ้ว 2) แนวคิดการข้ามพ้นวัฒนธรรมกับการสื่อสาร 3) แนวคิดเรื่องการสร้างความหมาย และ 4) แนวคิดหน้าที่นิยม วิธีการที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์ตัวบท ผลการวิจัยพบว่าการข้ามพ้นวัฒนธรรมของงิ้วสัมพันธ์กับความหมายทางสังคม 7 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อทางศาสนา สถาบันกษัตริย์และราชสำนัก ความเชื่อมโยงกับประเทศจีน การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง และ สื่อมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ จากกรอบการวิจัยหน้าที่ของสื่อพื้นบ้าน 19 ด้านนั้น พบว่างิ้วในประเทศจีนทำหน้าที่ทั้งสิ้น 16 ด้าน ขณะที่งิ้วในประเทศไทยปัจจุบันมีบทบาทหน้าที่ 14 ด้าน โดยแบ่งเป็นบทบาทหน้าที่เดียวกับงิ้วในประเทศจีน 13 ด้าน และเป็นหน้าที่ใหม่ 1 ด้าน ในแง่ของแบบแผนของการข้ามพ้นวัฒนธรรมนั้น จากองค์ประกอบย่อยของงิ้ว 11 ด้านนั้น งิ้วแบบขนบมีองค์ประกอบที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง 2 ด้าน ส่วนงิ้วไทยมี 4 ด้าน และงิ้วการเมืองมี 7 ด้าน อำนาจที่ปรากฏในการข้ามพ้นวัฒนธรรมของงิ้วได้แก่ อำนาจของฝ่ายปกครอง อำนาจของทุน อำนาจของสื่อมวลชน อำนาจของผู้ชม อำนาจของศาสนา และอำนาจของผู้ผลิต โดยการข้ามพ้นวัฒนธรรมของงิ้วมีเงื่อนไขของการสร้างสรรค์ อันได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) ผู้สร้างสรรค์ตระหนักว่าความหมายแบบเดิมมีปัญหา 3) ผู้สร้างสรรค์พยายามครอบงำหรือต่อต้านการครอบงำความหมาย 4) การปรับเปลี่ยนมีขอบเขต และ 5) มีการผลิตซ้ำ กระบวนการข้ามพ้นวัฒนธรรมของงิ้วประกอบไปด้วยขั้นการผลิต ขั้นการเผยแพร่ ขั้นการบริโภค และ ชั้นการผลิตซ้ำ โดยในขั้นการผลิตนั้น งิ้วแต่ละประเภทต่างก็มีความพร้อมในด้านองค์ประกอบแต่ละด้านแตกต่างกัน ในขั้นการเผยแพร่นั้นพบว่างิ้วมีการเผยแพร่ในสถานที่สาธารณะที่ไม่ต้องเสียค่าชม โรงละคร และโรงถ่าย ขั้นการบริโภคนั้นผู้ชมงิ้วในประเทศไทยมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่วนการผลิตซ้ำมี 5 ลักษณะ ได้แก่ การผลิตซ้ำเรื่องเดิมในโอกาสและสถานที่อื่น การผลิตซ้ำเรื่องเดิมในช่องทางที่ต่างไปจากเดิม การผลิตซ้ำเรื่องเดิมโดยรักษาเฉพาะรายละเอียดบางส่วน การผลิตซ้ำเรื่องของตัวละครเดิม และการผลิตซ้ำรูปแบบการแสดง การผลิตซ้ำเหล่านี้ทำให้งิ้วยังคงดำรงอยู่ได้ในประเทศไทย
Other Abstract: This research aimed to study Chinese opera in Thailand. The research topic included 1) the relationship between transculturation and the change of meaning 2) the relationship between transculturation and the change of functions 3) transculturation patterns of the past to the present 4) power appeared in transculturation practices, and 5) transculturation process. Theoretical concepts used were follows : 1) Chinese opera 2) transculturalism and communication 3) meaning construction, and 4) functionalism. The method used in the study were document analysis, interview, observation and textual analysis. The results showed that transculturation of Chinese opera in Thailand relate to 7 social meanings : religious beliefs ; the monarchy and the Royal Court ; link with China ; the economic driver ; education ; politics and government ; and mass media and information technology. From the research framework of the function of folk media, it was found that the opera in China served 16 functions, whereas the opera in Thailand served 14 functions, 13 of them were the same function as in China, another was the new function. In terms of the transculturation pattern, from eleven elements of Chinese opera, traditional opera were flexible to change in two elements. Thai Chinese opera were four elements, and political opera were sevens. Power that appeared in transculturation were power of ruling class, capital, mass media, audience, religion, and creator. The creation of transcultural opera has followed conditions : 1) the society had cultural diversity 2) the creator realized that the original is a problem 3) the creator tried to resist or overwhelm the meaning 4) there were limits to modification 5) reproduction had occurred. The transcultural process of Chinese opera consists of production, distribution, consumption, and reproduction stage. In the production stage, the availability of each kind of opera is different. In the distribution stage, it was found that the opera is published in outdoor places, theater and studio. In the consumption stage, the audience are both Thais and foreigners. In the reproduction stage, there are 5 characteristics as follows: the reproduction in the different channel, the reproduction by keeping only partially storyline, the reproduction of the original characters, and the reproduction of opera form, reproduction by these methods make the opera still exist in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44439
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5385103728.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.