Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44453
Title: | การวิเคราะห์จำนวนรถขนส่งสินค้าของตัวเองภายใต้ความไม่แน่นอน |
Other Titles: | ANALYSIS OF NUMBER OF PRIVATE TRUCKS UNDER UNCERTAINTY |
Authors: | ภควัต นาคเสน |
Advisors: | สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sompong.Si@chula.ac.th |
Subjects: | การขนส่งด้วยรถบรรทุก ความไม่แน่นอน การขนส่งสินค้า การขนส่งสินค้า -- ต้นทุน Trucking Uncertainty Commercial products -- Transportation Commercial products -- Transportation -- Costs |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจำนวนรถขนส่งสินค้าของตัวเองที่เหมาะสม ภายใต้สภาวะความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการขนส่งสินค้า ซึ่งใช้ข้อมูลการขนส่งสินค้าจากบริษัทสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ ที่มีการขนส่งสินค้าโดยใช้รถขนส่งสินค้าของตัวเองและการจ้างรถขนส่งสินค้าภายนอก โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้โปรแกรม Spreadsheet ในการจำลองสถานการณ์การขนส่งสินค้าของบริษัทตัวอย่าง โดยจะแบ่งได้เป็น 4 ส่วนคือ (1) การจำลองความต้องการขนส่งสินค้าในแต่ละวัน (2) การประมาณจำนวนรถขนส่งสินค้าที่ต้องใช้ในแต่ละวัน ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ทำการสร้างสมการที่ใช้ในการประมาณด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression) โดยจะประมาณจากตัวแปร 2 ตัว คือ จำนวนสินค้าที่ต้องทำการขนส่ง และ ระยะทางระหว่างลูกค้า (3) การประมาณต้นทุนการขนส่งสินค้าซึ่งประกอบไปด้วยต้นทุนจากรถขนส่งสินค้าของตัวเองและต้นทุนจากการจ้างรถขนส่งสินค้าภายนอก และ (4) การวิเคราะห์หาจำนวนรถขนส่งสินค้าของตัวเองที่เหมาะสมภายใต้ความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการขนส่งสินค้า ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) |
Other Abstract: | The aim of this thesis is to develop a tool for determining the proper number of private trucks under uncertain demand. The data had been collected from large publishing company which usually use their own private trucks together with subcontractor trucks. This thesis has used the Spreadsheet program for creating different shipping scenarios. The tool consists of 4 modules; the simulation of daily transportation demand, the estimation of the number of trucks to be used each day base on a regression model with delivery demand and inter-customer distance being explanatory variables, the estimation of transportation cost including cost of private trucks and cost of subcontractors trucks, lastly, the determination of appropriate number of private trucks under uncertainty applying Sensitivity Analysis |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44453 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.491 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.491 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5470318921.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.