Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4446
Title: การบริหารยาไอโซซอรไบด์นโมโนไนเตรดทางปาก กับความสามารถของเยื่อบุผนังหน้าท้องในการแลกเปลี่ยนสารละลายและน้ำในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการล้างช่องท้องแบบถาวร
Other Titles: Effectiveness of oral route isosorbide 5-mononitrate on peritoneal solute and fluid transports in CAPD patients
Authors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ไตวายเรื้อรัง -- การรักษาด้วยยา
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและเหตุผล: พบว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไตทดแทนด้วยการล้างช่องท้องถาวรอย่างไม่เพียงพอมีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการตายสูง ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะเพิ่มความเพียงพอในการฟอกไตทางช่องท้องโดยการบริหารยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำของเยื่อบุผนังช่องท้อง นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการทดลองใช้ยาจำนวนมากแต่มีเพียงยา nitroprusside เท่านั้นที่มีหลายการศึกษายืนยันถึงความสำเร็จยาดังกล่าวออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดผ่านการเพิ่มขึ้นของ nitric oxide เช่นเดียวกับยาในกลุ่ม nitrates จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแลกเปลี่ยนสสารต่างๆ ของเยื่อบุผนังช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนด้วยการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อนและหลังการบริหารด้วยยา isosorbide 5-mononitrate ทางปาก ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเยื่อบุผนังช่องท้องในการขจัดของเสียและน้ำในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไตทดแทนทางช่องท้องถาวรในช่วงที่ได้รับยา ISMN และช่วงที่ได้รับยาหลอก จำนวนทั้งสิ้น 9 ราย ทุกรายจะได้รับทั้งยา ISMN ขนาด 20 มก. จำนวน 2 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 5 วัน และ ยาหลอก 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน แต่เป็นคนละช่วงเวลากัน (cross over design) ทำการหยุดยาเดิม 7 วันก่อนที่จะให้ยาใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีผลของยาเก่าเหลืออยู่ก่อนที่จะได้รับยาใหม่ ผลการศึกษา: การบริหารยา ISMN ทางปากสามารถเพิ่ม 1) อัตราการขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) วัดโดยมัธยฐานของ MTAC creatinine และ urate เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และ 11 ตามลำดับ 2) อัตราการขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ วัดโดยมัธยฐานของ clearance ของ beta2 microglobulin, albumin และ immunoglobulin G เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เชื่อว่ากลไกการเพิ่มขึ้นของอัตราการขจัดของเสียเกิดจากการเติมพื้นที่ผิวของเยื่อบุผนังช่องท้องในการแลกเปลี่ยนของเสียและนำ เนื่องจากสัมประสิทธิ์ในการกั้นขวางคงที่อย่างไรก็ดีการบริหารยา ISMN ทางปากไม่มีผลต่ออัตราการขจัดน้ำออกจากร่างกาย และไม่มีผลแทรกซ้อนที่รุนแรง สรุป: การบริหารยา ISMN ทางปากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเยื่อบุผนังช่องท้องในการแลกเปลี่ยนของเสียทั้งโมเลกุลขนาดเล็กและโมเลกุลขนาดใหญ่จากการเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนสารและน้ำของเยื้อบุผนังช่องท้อง เชื่อว่าการบริหารยา ISMN ในระยะยาวจะสามารถเพิ่มความเพียงพอในการฟอกไตทางช่องท้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้
Other Abstract: Background: Addition of nitroprusside, a nitric oxide (NO) donor, to peritoneal solution could enlarge both effective surface area and peritoneal pore size, leading to increased clearance of all solutes, Generalized usage of nitroprusside in CAPD patients, however, is not practical because it has very short half-life and need specific route of administration. Organic nitrates, another nitric oxide donor, had a longer half-life and easier absorbability via many routes. Objective: The present study was conducted to determine the effect and mechanism of oral active nitrate (isosorbide 5-mononitrate: ISMN) on solute and fluid transports in stable CAPD patients. Patients and Methods: A prospective randomized placebo control with cross over study was performed in 9 stable CAPD patients. In group1 (n=4), the treatment included 1) oral ISMN at the dose of 20 mg bid for 5 days 2) wash out period for 7 days and 3) placebo for 5 days. In group2 (n=5), the treatment regimens were placebo, wash out, and ISMN periods, respectively. Resultss The results showed that the MTACs of low molecular weight (LMW) solutes in ISMN period were greater than the placebo period: median urea, 16.65 vs. 13.75 ml/min; creatinine 7.88 vs. 6.91 ml/min, and urate 6.07 vs. 5.46 ml/min (P<0.05 for all except MTAC of urate). Administration of ISMN could also enhance the clearance of macromolecules with magnitude of increase as following: 10% for B2 microglobulin, 50% for albumin, and 15% for immunoglobulin G (P<0.05 for all). However, the restrictive coefficient (RC) of LMW solute as well as macromolecules of both group were similar, indicating that the increased solute transports were not due to alteration in the peritoneal membrane permeability. Despite the increased peritoneal solute clearance, net ultrafiltration was unchanged after drug administration, 110(ISMN group) vs. 120 ml(placebo group), (NS). Conclusion: As such, ISMN has similar effect as nitroprusside in enhancing peritoneal clearance of both small and large molecular weight solutes.This effect is mediated via expansion of peritoneal surface area. As such administration of oral ISMN to stable CAPD patients in beneficial in enhancing the achievement of target solute clearance suggested by NKF DOQI Guidelines.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4446
ISBN: 9741313675
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Talerngsak-edit.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.