Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44486
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไขศรี ภักดิ์สุขเจริญen_US
dc.contributor.authorขนิษฐา ช่อกลางen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:13Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:13Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44486
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุศักยภาพและปัญหาทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และนโยบายการพัฒนาของพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อประมวลรูปแบบของพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เขตกรุงเทพมหานคร 2) วิเคราะห์เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีแผนนโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ12ปี(พ.ศ.2552-2563) มีแนวคิดการการพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมน้ำที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการลดข้อจำกัดของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น พื้นที่ตาบอด พื้นที่ถูกปิดล้อมขนาดใหญ่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะและพื้นที่นันทนาการในเมือง สนับสนุนให้มีการเพิ่มพื้นที่สาธารณะเปิดโล่งริมแม่น้ำลำคลอง ให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงามและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อนันทนาการได้ อีกทั้งควรช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของคนจน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ให้ชุมชนแออัดสามารถเข้าถึงการบริการได้อย่างทั่วถึง สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการหาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะใต้สะพานหรือพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เนื่องจากพบว่าปัจจุบันพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาล้วนกำลังประสบปัญหาด้านการขาดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเต็มศักยภาพ ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรม ปัญหาพื้นที่ถูกทิ้งร้าง ปัญหาการใช้งานพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งพื้นที่สาธารณะแต่ละแห่งจะมีลักษณะของปัญหาที่เหมือนและแตกต่างกันออกไป Gehl (1971) กล่าวถึงพื้นที่สาธารณะว่า พื้นที่สาธารณะควรมีความหลากหลายของวัตถุประสงค์(multi-use) หรือกิจกรรมการใช้งาน ความหลายของเวลา(multi-time) และผู้คนหลากหลายประเภท(multi-type people) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในพื้นที่ว่าประสบความสำเร็จได้อย่างไร โดยหากมีผู้ใช้งานที่หลากหลายจะสามารถช่วยให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลาย และเมื่อมีผู้คนที่หลากหลายประเภทเข้ามาใช้งานในพื้นที่ซึ่งวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกันประเภทของผู้คนก็แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายของช่วงเวลาการเข้าใช้งานพื้นที่ได้ตลอดทั้งวัน กลายเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตชีวา นั่นคือพื้นที่สาธารณะที่ถือว่าประสบความสำเร็จด้านการเป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง การศึกษานี้จึงนำหลักแนวคิด 3Mix (multi-use, multi-time, multi-type people) คน กิจกรรมและเวลา มาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินศักยภาพของพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 13 พื้นที่ เพื่อเลือกหนึ่งพื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดแต่มีแนวโน้มที่จะสามารถพัฒนาฟื้นฟูได้เช่นกันคือ พื้นที่สาธารณะใต้สะพานพระราม7 เขตบางซื่อ จากการศึกษาพบว่าพื้นที่สาธารณะพระราม7 เขตบางซื่อมีลักษณะของพื้นที่สามารถเข้าถึงได้ดีและปราศจากการปิดล้อมอาคาร( สกุลชัย ตันติเศรณี, 2548) ซึ่งเป็นคุณลักษณะของพื้นที่สาธารณะที่สามารถดึงดูดการเข้าถึงได้มากที่สุด แต่จากการศึกษาลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้งานและกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะพระราม7เขตบางซื่อกลับมีการใช้น้อยไม่สัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่ ซึ่งปัจจัยด้านกายภาพพื้นที่โดยรอบพื้นที่สาธารณะพระราม7 เขตบางซื่อมีผลต่อการเข้าใช้พื้นที่เนื่องจากพื้นที่สาธารณะใต้สะพานพระราม7 มีลักษณะพื้นที่เปิดโล่งแต่ถูกปิดล้อมด้วยโครงข่ายถนนและขาดการเชื่อมโยงการเข้าถึงจากพื้นที่โดยรอบอย่างเหมาะสม เสมือนเป็นพื้นที่สาธารณะที่ถูกตัดขาดจากพื้นที่โดยรอบ เป็นต้น ปัจจัยนี้เป็นเพียงประเด็นหนึ่งในการยกตัวอย่างสาเหตุการเข้าใช้พื้นที่สาธารณะพระราม7เขตบางซื่อน้อยกว่าที่ควรจะเป็นหรือเป็นพื้นที่ซึ่งถูกใช้งานได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ แนวทางการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะพระราม7นอกจาการพัฒนาด้านกายภาพแล้ว ควรมีการคำนึงถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ไปพร้อมกัน เพื่อให้พื้นที่สามารถรองรับการพัฒนาด้านต่างๆในอนาคตได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is 1) to identity and physical problems, economical problems, social problems and development policy for public spaces beneath the Chao Prhaya River bridges in Bangkok and for evaluating the space patterns beneath the bridges of the Chao Phraya River in Bangkok. 2) to analyze the potential of URBAN RENEWEL GUIDELINES FOR PUBLIC SPACES BENEATH THE CHAO PHRAYA RIVER BRIDGES IN BANGKOK. Public spaces beneath the Chao Phraya River bridges in Bangkok, presently, are faced, mostly, with the problems: not being used efficiently, a lack of use for other activities in the areas, and even a lack of linking with other areas nearby, such as local communities, business areas and government centers. Also, these areas seemed to be blocked by blocked by the construction of fences around the areas, surrounded by roads or by walls. As a result, this causes, this causes lots of problem in the areas at present, such as: criminality problems, taking over the area by homeless people problems, decaying garbage are problems etc. These areas can be develop to be a main riverside feature of the city, creating a good image of Bangkok. Development of these areas should be considered, in accordance with the urban design methods, combined with landscape architecture, designed for linkage with use from the city, the zones, the communities, and the public areas which are the centers of community activities, zone and the city. The concept principle, "lost space solving', can be used for linking travel networks for moving to, and for moving through, connecting with the potential for viewing and accessing and accessing the areas beneath the bridges properly and also by mixed building use. Encouragement can be given to various to have various activities and event, according to the annual period of time. This study has been researched to: A) fine out the reality and the facts regarding the usage of public spaces beneath the Chao Phraya River bridges in Bangkok, at present, B) for evaluating the spaces' potential and identifying the problems of those areas. Three types of problems can be categorized: 1.The problem of usage is of the utmost concern. 2. The problem of decadent garbage areas. 3. The problem of improper use of the areas. These three types of area problem are representative of the public spaces beneath the Chao Phraya River bridges in Bangkok, C) leading to renewed development of the public spaces beneath the bridges in order to create riverside public spaces that can support the activities of the town with their full of potentialen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.506-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพื้นที่สาธารณะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- แม่น้ำเจ้าพระยา -- สะพาน
dc.subjectการฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectPublic spaces -- Thailand -- Bangkok -- Chao Phraya River (Thailand) -- Bridge
dc.subjectUrban renewal -- Thailand -- Bangkok
dc.titleแนวทางการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeURBAN RENEWAL GUILDELINES FOR PUBLIC SPACES UNDERNEATH THE CHAOPHYA RIVER BRIDGES IN BANGKOKen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการออกแบบชุมชนเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKhaisri.P@Chula.ac.th,mee2mee@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.506-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473305225.pdf13.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.