Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44487
Title: แนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบอาคารในย่านพาณิชยกรรมเพื่อเชื่อมต่อการสัญจรโดยการเดินเท้า: กรณีศึกษาย่านสีลม กรุงเทพมหานคร
Other Titles: GUIDELINES FOR THE WALKWAY LINKAGE DEVELOPMENT AROUND BUILDINGS IN COMMERCIAL DISTRICT: A CASE STUDY OF SILOM DISTRICT, BANGKOK
Authors: ธนิดา ถีระปราโมทย์
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Nopanant.T@Chula.ac.th
Subjects: ทางเท้า
พื้นที่คนเดินเท้า
การออกแบบพื้นที่คนเดินเท้า
พื้นที่โล่ง
ย่านการค้ากลางใจเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- สีลม
การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- สีลม
Sidewalks
Pedestrian areas
Pedestrian facilities design
Open spaces
Central business districts -- Thailand -- Bangkok -- Si Lom
Land use, Urban -- Thailand -- Bangkok -- Si Lom
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่ในย่านพาณิชยกรรมมีอาคารขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งโดยรอบอาคารขนาดใหญ่นั้นได้มีพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นจากเรื่องกฎหมายข้อบังคับ หรือจะเป็นไปตามรูปแบบอาคารเพื่อความสวยงาม ถ้าพื้นที่รอบอาคารไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ สำนักงาน และห้างสรรพสินค้านั้น สามารถเป็นโครงข่ายการสัญจรได้จะช่วยย่นระยะเวลาการเดินทาง อาคารบางโครงการที่มีศักยภาพยอมให้เป็นโครงข่ายของชุมชนเมืองที่มีความเป็นย่าน และเป็นเมืองที่สามารถเชื่อมต่อพื้นที่ว่างรอบอาคารกับพื้นที่สาธารณะของเมืองเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนที่เดินทางให้มีทางเลือกและได้ประสบการณ์หลากหลายในการเดินทาง ดังนั้นจึงศึกษาเพื่อเพิ่มทางเลือกในการสัญจรทางเท้าในพื้นที่พาณิชยกรรม อีกทั้งยังลดระยะทางและเวลาเดินทางเพิ่มกิจกรรมธุรกิจการค้าในพื้นที่เพื่อเพิ่มปริมาณการสัญจรโดยใช้การเดินเท้า ในพื้นที่ย่านสีลมมีศักยภาพและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับรองรับกิจกรรมด้านพาณิชยกรรมในพื้นที่ จึงต้องทำให้มีรูปแบบการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานในระดับเมือง เพิ่มการเดินเท้าเพื่อเข้ามาทำกิจกรรมในย่านและสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ข้างเคียง ทำให้การใช้พื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมมีความเข้มข้นมากขึ้น และสามารถสัญจรโดยการเดินเท้าในพื้นที่เข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวกและรองรับปริมาณการใช้งานของผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ได้ ในการศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและกิจกรรมในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการสร้างพื้นที่สำหรับการสัญจรทางเท้าให้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการเข้าถึงได้ยากและมีการใช้งานน้อย ในการพัฒนาเส้นทางการสัญจรให้มีการเชื่อมโยงในพื้นที่ โดยให้มีศักยภาพของขนาดพื้นที่ทางสัญจรที่เหมาะสมกับการใช้งาน ความปลอดภัยในการใช้เส้นทางสัญจร มีความร่มรื่นเหมาะสมกับการทำกิจกรรมในพื้นที่ว่างรอบอาคาร และกำหนดรูปแบบของอาคารให้มีการใช้ประโยชน์อาคารที่สอดคล้องกับพื้นที่ว่างรอบอาคาร โดยเน้นการเชื่อมโยงพื้นที่ระหว่างถนน ทางเดินเท้า พื้นที่ว่างรอบอาคารและอาคาร ให้เชื่อมโยงกันและมีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่เหมาะสมกับการสัญจรโดยการเดินเท้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในด้านที่เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง การพัฒนาประสิทธิภาพการเชื่อมโยงพื้นที่ว่างรอบอาคารให้เกิดการใช้งานด้านการสัญจรที่ต่อเนื่องนั้น จึงได้ทำการศึกษาเพื่อเสนอแนะสำหรับการออกแบบทางสัญจรในพื้นที่ว่างรอบอาคารเพื่อการใช้งานในพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ
Other Abstract: The large scale buildings in commercial districts are surrounded by open spaces which are generally created from building regulations and architectural design. If the areas around these commercial and office buildings have been used as circulation networks, they will provide more conveniences to the pedestrians. The use of the open spaces around the high potential buildings will generate alternative ways of life and experiences, distance shortening and time saving, as well as increasing pedestrians and business activities. Silom district has high potential and physical environments for commercial development. It is therefore necessary to have full utilization of land by increasing the accessibility of the areas and developing walkways to the mass transit systems. After the field survey and analysis, the study will propose guidelines for the walkway linkage development around buildings in commercial Silom district. The study proposed the utilization of open spaces around large scale commercial and office buildings in Silom district by modifying them to form an interconnected system. This walkway system will be beneficial to many entities including individuals and business units within the commercial district as well as improving the scenery and making the district more unique and attractive.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44487
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.507
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.507
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473326425.pdf17.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.