Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44508
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโตen_US
dc.contributor.advisorจรรยา ฉิมหลวงen_US
dc.contributor.authorไพรินทร์ สำราญรัมย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:26Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:26Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44508
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต โดยใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของ Becker and Maiman (1974) กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงของ Thorndike (1932 cited in Bernard,1972) และการทบทวนวรรณกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง อายุระหว่าง 20&ndash;59 ปี ที่มารับบริการคลินิกโรคไตโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 25 คน และกลุ่มทดลอง 25 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะของโรค กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไต แบ่งเป็นด้านความถี่และด้านปริมาณในการบริโภค ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .85 และ .77 ตามลำดับ และได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .74 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้านความถี่และด้านปริมาณของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไตภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้านความถี่และด้านปริมาณของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไตกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of the health belief modification program on food consumption behavior of chronic kidney disease patients at pre renal replacement therapy stage. Health Belief Model (Becker and Maiman, 1974), Connectionism Theory of Thorndike (1932 cited in Bernard, 1972) and literature review were used as a conceptual framework to develop the program. The sample consisted of 50 patients diagnosed with chronic kidney disease aged 20-59 years. They were matched by sex, age, education and stage of disease. The control group received routine nursing care while the experimental group received the health belief modification program. Data were collected using food consumption behavior questionnaire. Two dimensions of food consumption behavior were asked, the frequency and quantity of consumption. The questionnaire was tested for its validity with the CVI of .85 and .77, respectively. Their reliability were at .74 and .72, respectively. Data were analyzed using descriptive and t-test statistics. Major findings: 1) The mean score of the frequency and quantity of consumption of chronic kidney disease patients in the experimental group after receiving the program was significantly higher than before receiving the program (p<.01). 2) The mean score of the frequency and quantity of consumption of chronic kidney disease patients in the experimental group after receiving the program was significantly higher than that of the control group (p<.01).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.528-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไตวายเรื้อรัง
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ
dc.subjectผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล
dc.subjectChronic renal failure
dc.subjectHealth behavior
dc.subjectChronically ill -- Care
dc.titleผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนบำบัดทดแทนไตen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF HEALTH BELIEF MODIFICATION PROGRAM ON FOOD CONSUMPTION BEHAVIOR OF CHRONIC KIDNEY DISEASE PATIENTS AT PRE RENAL REPLACEMENT THERAPY STAGEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRatsiri.T@chula.ac.then_US
dc.email.advisorJanya.C@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.528-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477226036.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.