Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44531
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิชen_US
dc.contributor.authorกัลย์สุดา ปิ่นพาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:38Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:38Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44531
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของสารคีเลตและพีเอชต่อการกำจัดแคดเมียมที่ปนเปื้อนในดินตะกอนท้องน้ำด้วยผักตบชวา โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุมที่มีดินปนเปื้อนและน้ำมีการปรับพีเอชที่ระดับ 4, 5, 7 และ 9 2) ชุดการทดลองที่แบ่งออกเป็น 3 ชุด คือ 1) ชุดการทดลองที่มีดินปนเปื้อนโดยน้ำมีการเติมสารอีดีทีเอ ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และปรับพีเอชที่ 4, 5, 7 และ 9 2) ชุดการทดลองที่มีดินปนเปื้อนโดยน้ำมีการเติมสารดีทีพีเอ ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และปรับพีเอชที่ 4, 5, 7 และ 9 3) ชุดการทดลองที่มีดินปนเปื้อนโดยน้ำมีการเติมสารอีดีทีเอร่วมกับสารดีทีพีเอ ที่ระดับความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และปรับพีเอชที่ 4, 5, 7 และ 9 ทำการเก็บตัวอย่างทุกๆ 30, 60, 90 และ 120 วัน เพื่อหาปริมาณแคดเมียมในส่วนใต้น้ำ (ราก) และส่วนเหนือน้ำ (ลำต้น และใบ) ของผักตบชวา ผลการทดลองพบว่า ผักตบชวามีความสามารถในการสะสมแคดเมียมมากที่สุดในส่วนใต้น้ำ รองลงมา คือ ส่วนเหนือน้ำ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม แสดงให้เห็นว่าการเติมสารคีเลตทั้งสองชนิดร่วมกับการปรับพีเอชที่ระดับต่างๆ มีส่วนช่วยในการดูดดึงแคดเมียมของผักตบชวา โดยชุดการทดลองที่เติมสารอีดีทีเอ ที่ระดับพีเอช 5 มีการสะสมแคดเมียมมากที่สุดในส่วนใต้น้ำ เท่ากับ 62.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ในส่วนเหนือน้ำ เท่ากับ 10.23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง และชุดการทดลองที่เติมสารดีทีพีเอ ที่ระดับพีเอช 4 มีการสะสมแคดเมียมมากที่สุดในส่วนใต้น้ำ เท่ากับ 61.17 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ในส่วนเหนือน้ำ เท่ากับ 10.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้งที่เวลา 30 วัน สำหรับชุดการทดลองที่เติมสารอีดีทีเอร่วมกับดีทีพีเอ ที่ระดับพีเอช 5 มีการสะสมแคดเมียมมากที่สุดในส่วนใต้น้ำ เท่ากับ 112.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ในส่วนเหนือน้ำ เท่ากับ 14.23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ที่เวลา 90 วันen_US
dc.description.abstractalternativeThe effects of chelating agents and pH on cadmium removal from contaminated sediment with Eichhornia crassipes (water hyacinth) were studied. The experimental design was separated into two sets: 1) control and 2) treatment set. The control set was contaminated soil with water at pH 4, 5, 7 and 9. The treatment set was separated into three parts: 1) contaminated soil with EDTA at concentrations of 2 mg/L and at pH 4, 5, 7 and 9; 2) contaminated soil with DTPA at concentrations of 2 mg/L at pH 4, 5, 7 and 9, and 3) contaminated soil with both EDTA and DTPA at concentration of 2 mg/L at pH to 4, 5, 7 and 9. Plants were harvested at 30, 60, 90 and 120 days. Cd levels were measured in two parts of the plant: Above ground plant (stem and leaves) and under ground plant (root). The results showed that Cd accumulation in root in all treatment sets were significantly (P<0.05) higher than that in shoot. Cd accumulation in plants with added EDTA and DTPA were higher than the control set, which indicates that EDTA and DTPA at pH different levels increased Cd uptake by water hyacinth. The EDTA at pH 5 and DTPA at pH 4 showed higher Cd accumulation in roots than in shoots on follow; 62.55 and 10.23 mg/kg dry weight of plant, and 61.17 and 10.20 mg/kg dry weight of plant at 30 days, respectively. However, EDTA and DTPA mixing at pH 5, the Cd accumulation in root was higher than in shoots and was evaluated at 112.73 and 14.23 mg/kg dry weight of plant at 90 days, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.548-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกำจัดสารปนเปื้อนในดิน
dc.subjectแคดเมียม
dc.subjectแคดเมียม -- พิษวิทยา
dc.subjectการบำบัดโดยพืช
dc.subjectกรดเอทิลีนไดเอมีนเตตราอะซีติก
dc.subjectผักตบชวา
dc.subjectSoil remediation
dc.subjectCadmium
dc.subjectCadmium -- Toxicology
dc.subjectPhytoremediation
dc.subjectEthylenediaminetetraacetic acid
dc.subjectWater hyacinth
dc.titleผลของสารคีเลตและพีเอชต่อการกำจัดแคดเมียมที่ปนเปื้อนในดินตะกอนท้องน้ำด้วยผักตบชวาen_US
dc.title.alternativeEFFECT OF CHELATING AGENT AND PH ON CADMIUM REMOVAL FROM CONTAMINATED SEDIMENT WITH EICHHORNIA CRASSIPES (WATER HYACINTH)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPantawat.S@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.548-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487107720.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.