Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนเรศร์ จันทน์ขาวen_US
dc.contributor.advisorสมยศ ศรีสถิตย์en_US
dc.contributor.authorธีศิษฏ์ สองเมืองen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:43Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:43Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44539
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลัก โดยกำหนดให้ผสมเอทานอลแปลงสภาพในน้ำมันเบนซินพื้นฐานในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 10%, 20% และ 85% โดยปริมาตร ตามลำดับ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคนิวเคลียร์ที่สามารถตรวจวัดสัดส่วนเอทานอลแปลงสภาพในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ โดยได้ทำการทดลองส่งผ่านรังสีเอกซ์จากต้นกำเนิดรังสีพลูโตเนียม-238 ที่พลังงาน 13.6, 17.2 และ 20.1 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ผ่านน้ำมันแก๊สโซฮอล์ประเภทต่าง ๆ ที่มีความเข้มข้นของเอทานอลแปลงสภาพต่าง ๆ กัน ซึ่งบรรจุขวดพลาสติกในระบบเปิด ขนาด 300 มิลลิลิตร ผลการวิจัยพบว่าการใช้เทคนิคส่งผ่านรังสีเอกซ์สามารถแยกแยะสัดส่วนเอทานอลแปลงสภาพในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน 1% โดยปริมาตรได้ โดยที่พลังงาน 13.6 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ สามารถจำแนกประเภทน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้อย่างชัดเจนมากที่สุดในจำนวน 3 พลังงานที่ใช้ทดลอง โดยความไวในการจำแนกประเภทของน้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเมื่อพลังงานของรังสีเอกซ์ลดลง ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคนิคส่งผ่านรังสีเอกซ์ประกอบกับการปรับเทียบที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์ภาคสนามสำหรับใช้ในงานตรวจวัดสัดส่วนเอทานอลแปลงสภาพในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองผู้บริโภคตาม พรบ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543en_US
dc.description.abstractalternativeIn the present, the government promotes the use of Gasohol to reduce the import volume of petroleum and to add value to local agricultural products. Gasohol is a mixture of gasoline and denatured ethanol which includes of 10%, 20% and 85% by volume respectively. The study aims to develop a nuclear technique for measurement of denatured ethanol fraction in gasohol fuel. The experiment was conducted by x-ray transmission at different energies, i.e. 13.6, 17.2, and 20.1 keV, from a plutonium-238 source through denatured ethanol with diverse intensity in different types of gasohol in 300 ml plastic bottles in an open system. The result shows that the x-ray transmission technique can classify denatured ethanol fraction in gasohol fuel with different intensity of 1% by volume. The X-ray transmission at 13.6 keV is the best in classifying gasohol types among the three energies. It is also found that the sensitivity increases with decreasing of x-ray energy. The study indicates that it is possible to design and construct a field instrument for gasohol classification using the proposed technique which can be used to effectively protect consumers in accordance with the Fuel Trade Act, B.E. 2543.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.552-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแกสโซฮอล
dc.subjectรังสีเอกซ์
dc.subjectเชื้อเพลิงเอทานอล
dc.subjectGasohol
dc.subjectX-rays
dc.subjectEthanol as fuel
dc.titleการตรวจวัดสัดส่วนเอทานอลแปลงสภาพในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ด้วยเทคนิคการส่งผ่านรังสีเอกซ์en_US
dc.title.alternativeMEASUREMENT OF DENATURED ETHANOL FRACTION IN GASOHOL FUEL BY X-RAY TRANSMISSION TECHNIQUEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornares.c@chula.ac.then_US
dc.email.advisorSomyot.S@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.552-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570244121.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.