Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44567
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิตตินันท์ โกมลภิส | en_US |
dc.contributor.advisor | ธนาภัทร ปาลกะ | en_US |
dc.contributor.author | กนกภรณ์ ปฏิพัทธศิลปกิจ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-08-21T09:29:59Z | - |
dc.date.available | 2015-08-21T09:29:59Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44567 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | นมวัวเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับมนุษย์อย่างมาก แต่พบว่านมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวการแพ้ได้ในเด็ก โดยเฉพาะในบางรายอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้ในเวลาไม่นาน โปรตีนหลักที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ คือ เคซีน (ประมาณ 80% ของโปรตีนทั้งหมด) ซึ่งประกอบไปด้วยชนิดแอลฟาs เคซีน บีตา เคซีน และ แคปปา เคซีน ในอัตราส่วน 50%, 40% และ 10% ตามลำดับ แม้จะมีการพัฒนาการตรวจสอบเคซีนด้วยวิธีทางเคมีหลายวิธี แต่พบว่าวิธีเหล่านี้ต้องการเครื่องมือที่มีราคาแพงและไม่เหมาะสำหรับการตรวจนอกห้องปฏิบัติการ ในทางตรงกันข้ามมีวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของแถบทดสอบที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเรียบง่าย ราคาถูก และพร้อมใช้งานนอกห้องปฏิบัติการ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและคัดเลือกมอนอโคลนอลแอนติบอดี (MAb) ที่เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบโบไวน์เคซีน โดยได้หลอมรวมเซลล์ระหว่างเซลล์ม้ามของหนูเม้าส์สายพันธุ์ BALB/c จำนวน 6 ตัว ที่ถูกกระตุ้นด้วยเคซีนชนิดผสมกับเซลล์ไลน์มัยอีโลมา P3X ได้จำนวนมอนอโคลนทั้งหมดหลังจากการหลอมรวมเซลล์จำนวน 60 มอนอโคลน ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มตามความจำเพาะต่อชนิดของเคซีนได้เป็น 7 กลุ่ม ในกลุ่มมอโนโคลนเหล่านี้ ได้ทำการคัดเลือกออกมา 8 โคลน ได้แก่ CN1F4 CN3F4 CN5F4 CN10F4 CN11F4 CN12F4 CN16F4 และ CN20F4 เพื่อทำการศึกษาต่อ เนื่องจากแอนติบอดีของโคลนเหล่านี้จะจับกับเคซีนชนิดผสมและไม่ทำปฏิกิริยาข้ามกับสารอื่นๆ ที่นำมาทดสอบ MAb จากโคลนที่คัดเลือกมานี้ได้มีการผลิตและทำให้บริสุทธิ์บางส่วน หลังจากนั้นความไวของ MAb ได้มีการทดสอบด้วยวิธีเอนไซม์ลิงก์อิมมิวโนซอร์เบนท์แอสเสย์และรายงานเป็นค่าความเข้มข้นที่ให้ประสิทธิภาพ 50 เปอร์เซนต์ (EC50) และค่าขีดจำกัดในการตรวจวัด (LOD) โดยพบว่า EC50 และ LOD มีค่าอยู่ในช่วง 0.09-0.86 µg/ml และ 6.13-21.52 ng/ml ตามลำดับ โดย MAb ที่ได้ทั้งหมดมีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาเป็นแถบทดสอบเนื่องจากให้ค่าความไวที่สูง | en_US |
dc.description.abstractalternative | Bovine milk is an important source of proteins for human. But it can cause allergic reaction in some children. In the severe cases, it can lead to death rapidly. The milk major protein that causes allergy is casein (80% of the total milk protein) which composes of αs-, β- and κ-forms at 50%, 40% and 10%, respectively. Many chemical based methods have been developed to detect casein. However, these methods require expensive instruments and are not suitable for an on-site detection. On the contrary, immunological-based method, specifically a strip test, is more of interest due to its simplicity, inexpensive and ready to use for on-site application. Therefore, the objective of this research is to produce and screen for monoclonal antibodies suitable for casein detection. Conventional somatic cell fusions of splenocytes of six BALB/c mice immunized with mixed form of casein and P3X myeloma cell line were performed. In total, 60 monoclones which were divided into 7 groups based on their cross-reactivities to different forms of casein were obtained. Among these monoclones, 8 clones (CN1F4, CN3F4, CN5F4, CN10F4, CN11F4, CN12F4, CN16F4 and CN20F4) were selected for further studies because their monoclonal antibodies (MAb) reacted with the mixed form of casein and did not cross-react with other tested substances. MAb were produced and partially purified. Then, sensitivity of each MAb was analyzed by an indirect enzyme-linked immunosorbent assay and reported as 50% effective concentration (EC50) and limit of detection (LOD). The values of EC50 and LOD were found to be in the ranges of 0.09-0.86 µg/ml and 6.1-21.5 ng/ml, respectively. All MAbs obtained could also be used for further development of test kit because of their high sensitivity. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การผลิตและลักษณะสมบัติของมอนอโคลนอลแอนติบอดีต่อโบไวน์เคซีน | en_US |
dc.title.alternative | PRODUCTION AND CHARACTERIZATION OF MONOCLONAL ANTIBODIES AGAINST BOVINE CASEIN | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีชีวภาพ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kittinan.K@Chula.ac.th,kittinan.k@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | Tanapat.P@Chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5571903223.pdf | 5.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.