Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44590
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบพื้นที่กับรูปแบบการเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สินในแขวงชนะสงคราม |
Other Titles: | THE RELATIONSHIP BETWEEN SPATIAL PATTERNS AND CRIME AGAINST PROPERTY IN CHANASONGKRAM SUBDISTRICT |
Authors: | วิชชากร พรกำเหนิดทรัพย์ |
Advisors: | ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Khaisri.P@Chula.ac.th,mee2mee@hotmail.com |
Subjects: | อาชญากรรม -- กรุงเทพฯ -- ชนะสงคราม พื้นที่สาธารณะ -- กรุงเทพฯ -- ชนะสงคราม การใช้ที่ดินในเมือง -- กรุงเทพฯ -- ชนะสงคราม Crime -- Bangkok -- Chanasongkram Public spaces -- Bangkok -- Chanasongkram Land use, Urban -- Bangkok -- Chanasongkram |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงรูปแบบพื้นที่ (spatial patterns) ในพื้นที่ แขวงชนะสงคราม ที่มีแนวโน้มเอื้อให้เกิดรูปแบบการเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สิน ประกอบไปด้วย คดีลักทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีปล้นทรัพย์ คดีลักรถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ และคดีลักรถยนต์ ด้วยการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ร่วมกับแผนที่อาชญากรรม ผลการศึกษาพบว่า คดีอาชญากรรมประเภทวิ่งราวทรัพย์ มีแนวโน้มเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่รักษาระดับสายตาได้ดีในระดับหนึ่งเพราะจะดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความจำเป็นในการเข้ามาในพื้นที่ และมีพื้นที่เชื่อมต่อออกทางด้านหลัง เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ความเร็วในการหลบหนี แต่คดีอาชญากรรมประเภทลักทรัพย์ ที่จำเป็นต้องใช้ความหลากหลายและการปะปนของคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่เพื่อใช้ในการพรางตัวเพื่อการประกอบอาชญากรรม ซึ่งแตกต่างจากคดีอาชญากรรมประเภทปล้นทรัพย์ ที่ต้องใช้พื้นที่ที่มีมุมมองทางสายตาต่ำ และเกิดเป็นจุดอับสายตา (blind spot) มีการสัญจรผ่านน้อยทั้งในระดับย่านและระดับเมืองเพื่อก่ออาชญากรรม แต่สำหรับคดีอาชญากรรมประเภทลักรถยนต์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับศักยภาพการเข้าถึงและการมองเห็น รวมถึงปริมาณการสัญจรผ่านของคน เนื่องจาก รถยนต์เป็นสิ่งดึงดูดให้เกิดอาชญากรรม (object of attraction) ดังนั้น ความสำคัญของพื้นที่มีความสำคัญน้อยกว่าเวลา สอดคล้องกับคดีอาชญากรรมประเภทลักรถจักรยาน และรถจักรยานยนต์ แต่ทั้งนี้ คดีอาชญากรรมประเภทดังกล่าว มักเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีกลุ่มผู้ใช้ภายนอกสัญจรผ่านสูงมากกว่ากลุ่มผู้ใช้ภายในพื้นที่ เพราะเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดให้มีการเข้าใช้ และนำรถจักรยานและรถจักรยานยนต์เข้ามาในพื้นที่ ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นสิ่งดึงดูดให้เกิดอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า การเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สินในแขวงชนะสงครามนั้นมักเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่มีความเป็นอเนกประโยชน์ และพบว่า พื้นที่ในย่านชุมชนที่มีความหนาแน่นของมวลอาคารสูงเป็นบริเวณที่เกิดคดีอาชญากรรมน้อยมาก |
Other Abstract: | This thesis has the objective to study about crime against property patterns (The offences of theft, The offences of snatching, The offences of robbery, The offences of stealing the bike and motorbike, The offences of stealing the car) was affected by spatial patterns in Chanasongkram subdistrict by spatial analysis with crime mapping. The results showed that the trend of the offences of snatching have been occurring on the space it be visible from outer space and connected with another way on backside because that will appeal to users who are required to enter the space. But the offences of theft have been occurring on the space have diversity and mix of locals and outsiders for camouflage. The offences of robbery have been occurring on blind spot space and less traffic at both the local and global integration. However, the offences of stealing the car not depend access potential and visibility because the car is the object of attraction. So, the importance of the space is lower than the times and corresponds with the offences of stealing the bike and motorbike but have been occurring on the space have the outsiders more than locals and they took the bike and motorbike into the space. And the conclusion is the trend of the crime against property in Chanasongkram subdistrict have been occurring on multi-use space and the local settlement is the density of high-rise buildings have the crime against property is low. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44590 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.743 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.743 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573313325.pdf | 15.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.