Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวรรณา กิจภากรณ์en_US
dc.contributor.advisorกฤษ อังคนาพรen_US
dc.contributor.authorชัยรัตน์ แจ่มแจ้งen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:19Z
dc.date.available2015-08-21T09:30:19Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44601
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมจักรนารายณ์ (Gynura divaricata) ในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย การเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชัน และการสะสมไขมันในซากไก่เนื้อที่เลี้ยงหนาแน่น โดยใช้ไก่เนื้อเพศผู้พันธุ์ Cobb 500 อายุ 22 วัน จำนวน 240 ตัวทำการสุ่มไก่แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 6 ซ้ำๆ ละ 8 ตัวโดยเลี้ยงในโรงเรือนเปิดภายในสภาพแวดล้อมเดียวกันที่ความหนาแน่นสูง 28 กก./ตรม. จนถึงอายุ 43 วัน อาหารทดลอง 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม 1 อาหารควบคุม กลุ่ม 2 อาหารควบคุมเสริมอะวิลามัยซิน 2.5 มก./กก. อาหาร กลุ่ม 3 อาหารที่ประกอบด้วยสารสกัดหยาบจากจักรนารายณ์ในรูปแกรนูลที่มีระดับของสารฟลาโวนอยด์ 1.3 ก./กก. อาหาร กลุ่มที่ 4 และ 5 อาหารที่ประกอบด้วยผงจักรนารายณ์ที่มีระดับของสารฟลาโวนอยด์ 1.3 และ 2.6 ก./กก. อาหาร ตามลำดับ ทำการเก็บเลือดเพื่อวัดน้ำตาลในเลือด สัดส่วนเฮทเทอร์โรฟิลต่อลิมโฟไซท์ รวมถึงพารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ การวัดความเข้มข้นของกรดน้ำดี สัมประสิทธิ์การย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย สมรรถภาพการเจริญเติบโต มาลอนไดแอลดีไฮด์ในพลาสม่าและเนื้อหน้าอก ไขมันช่องท้องและการสูญเสียน้ำในเนื้อ ผลการทดลองพบว่า อาหารที่ประกอบด้วยจักรนารายณ์ในรูปผงทั้ง 2 ระดับทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด (P<0.01) และสัดส่วนเฮทเทอร์โรฟิลต่อลิมโฟไซท์ (P<0.001) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่ามาลอนไดแอลดีไฮด์ในพลาสมาไม่มีความแตกต่าง (P>0.05) ความเข้มข้นของกรดน้ำดีในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างของสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของสารอาหารที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย (P>0.05) การเสริมจักรนารายณ์ที่มีระดับฟลาโวนอยด์ 1.3 ก./กก. ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดและปริมาณอาหารที่กิน ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ที่ระดับ 2.6 ก./กก. อาหาร ให้ผลไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่น ขณะที่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันและอัตราการแลกเนื้อไม่แตกต่างกันในทุกกลุ่ม (P>0.05) ทางด้านคุณภาพซากพบความแตกต่างของร้อยละของน้ำหนักซากและไขมันช่องท้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่เมื่อนำน้ำหนักตัวมีชีวิตมาใช้เป็นตัวแปรร่วมพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนค่าการสูญเสียน้ำในเนื้อและมาลอนไดแอลดีไฮด์ที่วัดได้ในเนื้อหน้าอกไก่ไม่พบความแตกต่างเช่นกัน (P>0.05) ผลการทดลองสรุปได้ว่า การเสริมผงจักรนารายณ์ที่มีระดับฟลาโวนอยด์ 1.3 ก./กก. อาหารไก่เนื้อ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเครียดจากการเลี้ยงหนาแน่น และการเสริมจักรนารายณ์ที่ระดับเดียวกันนี้ทั้งสารสกัดหยาบในรูปแกรนูลและผง สามารถเพิ่มความเข้มข้นของกรดน้ำดี รวมถึงการเพิ่มปริมาณอาหารที่กินและน้ำหนักตัวในช่วง 22-43 วัน แต่ไม่มีผลต่อการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันในพลาสม่าและเนื้อหน้าอก สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของสารอาหารบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย และการสูญเสียน้ำในเนื้อ ในส่วนของการลดลงของไขมันช่องท้อง ไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่าเกิดจากสารสำคัญในจักรนารายณ์หรือเกิดจากน้ำหนักไก่เนื้อมีชีวิตที่ใช้ศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativeThe experiment was designed to investigate the effects of dietary Jakr-Na-Rai (Gynura divaricata) inclusion on growth performance, ileal digestibility, lipid peroxidation and carcass fat deposition in broiler under high stocking density. Total 240 Cobb-500 birds, at 22 days of age were randomly allocated into 5 groups of 6 replicates, each with 8 birds. They were raised in open-sided housing system, under high stocking density 28 kg BW/m2 in the tropical environment until 43 days of age. The five treatments were: Group 1 control diet, Group 2 control diet plus 2.5 mg avilamycin/kg diet, Group 3 diet was contained Jakr-Na-Rai granules at the level of 1.3 g flavonoid/ kg diet, and Groups 4 and 5 contained Jakr-Na-Rai powder at the level of 1.3 and 2.6 g flavonoid/kg diet, respectively. Blood was collected for fasting glucose and heterophil/lymphocyte ratio (H/L). In addition, bile acid concentrations in jejunum content, ileal nutrient digestibility coefficients, growth performance, malondiadehyde (MDA) in plasma and breast meat, abdominal fat and drip loss were determined. The results showed that Jakr-Na-Rai powder supplementation in both levels decreased blood glucose (P<0.01) and H/L ratio (P<0.001) significantly, without change in plasma MDA (P>0.05). Bile acid concentrations in jejunum increased significantly (P<0.001) but there was no difference in ileal nutrient digestibility coefficients (P>0.05). Diet contained Jakr-Na-Rai at the level of 1.3 g flavonoid/ kg diet increased final body weight and feed intake (P<0.05), but no significant difference was shown at the level of 2.6 g flavonoid/ kg diet compared to the others. In addition, average daily gain and feed conversion ratio were not significantly different among groups (P>0.05). For carcass quality, significant difference of dressing percentage and abdominal fat were detected (P<0.05). However, when live weight was determined as covariance, no significant difference was detected. Drip loss and MDA concentrations in breast meat did not change (P>0.05). In conclusion, diet composed of Jakr-Na-Rai at the level of 1.3 g flavonoid/kg diet in powder form, was sufficient to decrease blood glucose and H/L ratio. Diets composed of Jakr-Na-Rai at the level of 1.3 g flavonoid/kg diet in both forms, were found to increase bile acid concentrations and increase body weight of birds in grower-finisher period due to enhanced feed intake. There was no significant difference in lipid peroxidation in plasma and breast meat and ileal nutrient digestibility coefficients. Abdominal fat cannot infer the result of either active ingredient of jakr-na-rai or live weight in this study.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.751-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไก่เนื้อ -- ผลกระทบจากความเครียด
dc.subjectจักรนารายณ์
dc.subjectไก่เนื้อ -- การเจริญเติบโต
dc.subjectการย่อยอาหาร
dc.subjectอาหารสัตว์
dc.subjectไก่เนื้อ -- ประสิทธิภาพอาหารสัตว์
dc.subjectBroilers (Chickens) -- Effect of stress on
dc.subjectGynura divaricata
dc.subjectBroilers (Chickens) -- Growth
dc.subjectDigestion
dc.subjectFeeds
dc.subjectBroilers (Chickens) -- Feed utilization efficiency
dc.titleผลของการเสริมจักรนารายณ์ (Gynura divaricata) ในอาหาร ต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต การย่อยได้บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย การเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชันและการสะสมไขมันในซากในไก่เนื้อที่เลี้ยงหนาแน่นen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF DIETARY JAKR-NA-RAI (GYNURA DIVARICATA) INCLUSION ON GROWTH PERFORMANCE, ILEAL DIGESTIBILITY, LIPID PEROXIDATION AND CARCASS FAT DEPOSITION IN BROILER UNDER HIGH STOCKING DENSITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอาหารสัตว์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwanna.ki@chula.ac.then_US
dc.email.advisorKris.A@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.751-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5575331031.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.