Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44607
Title: | ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการนวดแบบสวีดิชต่อความปวดในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งปอด |
Other Titles: | THE EFFECT OF NURSING PROCESS COMBINED WITH SWEDISH MASSAGE ON PAIN IN OLDER PERSONS WITH LUNG CANCER |
Authors: | กาญจนา เพียรบัญญัติ |
Advisors: | ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | tassana.c@chula.ac.th |
Subjects: | การบำบัดด้วยการนวด ความเจ็บปวดในผู้สูงอายุ ปอด -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย การพยาบาล Massage therapy Pain in old age Lungs -- Cancer -- Patients Nursing |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนความปวดในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งปอดก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการนวดแบบสวีดิช โดยประยุกต์แนวคิดกระบวนการพยาบาลร่วมกับทฤษฎีควบคุมประตูเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา (One-Group Time Series Design) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดที่มีความปวด ผู้ป่วยนอก แผนกรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา และแผนกอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 26 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด ดำเนินโปรแกรมการนวดแบบสวีดิช โดยผู้วิจัยสอนให้ญาติผู้ดูแลหลักนวดแบบสวีดิชให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งปอดที่บ้าน วันละ 1 ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการนวด 30 นาที นวด 3 วันติดต่อกัน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ รวม 15 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการนวดแบบสวีดิช ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการนวดแบบสวีดิชพร้อมดีวีดี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความปวดชนิดตัวเลข (Numeric Rating Scale) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งปอดหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับการนวดแบบสวีดิชน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งปอดระหว่างเข้าร่วมโปรแกรมน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดก่อนเข้าร่วมโปรแกรมเท่ากับ 3.83 (SD = 1.10) ระหว่างเข้าร่วมโปรแกรมค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดลดลงตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เข้าร่วมโปรแกรม โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดเท่ากับ 2.11 (SD = 0.92), 1.77 (SD = 0.74), 1.37 (SD = 0.71), 1.00 (SD = 0.64) และ 0.65 (SD = 0.55) ตามลำดับ และหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดเท่ากับ 0.31 (SD = 0.47) |
Other Abstract: | This quasi-experimental research aimed to compare the pain in older persons with lung cancer before, during and after the Swedish massage. Nursing process modification and gate control theory were used as conceptual framework. One sample group with time series measurement were designed. The sample consisted of people aged 60 years and above, both male and female, diagnosed lung cancer and had pain. Twenty-six older persons with lung cancer were recruited following the criterias from out-patient, radiation oncology department and medical oncology department, King Chulalongkorn Memorial Hospital. The researcher trained the principle caregivers for display Swedish massage to their older persons with lung cancer at home. The massage took 30 minute/day, continuing with in 3 consecutive days in 5 weeks, totally 15 times for the program. The instruments using were lesson plans, a DVD Swedish massage and handbook. Numeric Rating Scale was used for outcome measured. The reliability was .88. The data were analyzed using variance with repeated measures (ANOVA) and pairwise comparison. The research findings could be summarized as follows: Mean pain scores of older persons with lung cancer after Nursing process combined with Swedish massage lower than before the program and mean pain scores of older persons with lung cancer during the program lower than before the program with statistical significance at the level of .05. The mean pain score before joining the program was 3.83 (SD = 1.10). Mean pain score decreased from the first week of the program. The mean pain score was 2.11 (SD = 0.92), 1.77 (SD = 0.74), 1.37 (SD = 0.71), 1.00 (SD = 0.64) and 0.65 (SD = 0.55), respectively. After the program the mean pain score was 0.31 (SD = 0.47). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44607 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.754 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.754 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577154636.pdf | 9.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.