Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44613
Title: | ผลของการใช้รูปแบบบริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป ต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยและอัตราการกลับมาตรวจก่อนนัด |
Other Titles: | EFFECTS OF USING NURSING SERVICE MODEL FOR COLPOSCOPE CLINIC ON NURSING SERVICE SATISFACTION OF PATIENTS AND REVIT RATE |
Authors: | รัตติยา ชูโชติ |
Advisors: | สุวิณี วิวัฒน์วานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suvinee.W@chula.ac.th |
Subjects: | โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ -- ประวัติ บริการการพยาบาล การบริบาลผู้ป่วยนอก มดลูก -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย King Chulalongkorn Memorial Hospital -- History Nursing services Ambulatory medical care Uterus -- Cancer -- Patients |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยและอัตราการกลับมาตรวจก่อนนัดของผู้ป่วยคลินิกคอลโปสโคประหว่างกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามรูปแบบบริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีผลตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่มาใช้บริการตรวจที่คลินิกคอลโปสโคป แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามรูปแบบบริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลผู้ป่วยคลินิกคอลโปสโคป แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางปฏิบัติการพยาบาล คู่มือการปฏิบัติการพยาบาล เอกสารคำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อการตรวจคอลโปสโคปและการดูแลตนเองของผู้ป่วย แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมการบริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ใช้บริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป และแบบบันทึกการกลับมาตรวจก่อนนัด ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความพึงพอใจได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (Independent t-test) และสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยคลินิกคอลโปสโคปกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามรูปแบบบริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป (X̅= 4.80, SD = .22) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามปกติ (X̅= 3.43, SD = .31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อัตราการกลับมาตรวจก่อนนัดของผู้ป่วยคลินิกคอลโปสโคปที่ได้รับบริการพยาบาลตามรูปแบบบริการพยาบาลคลินิกคอลโปสโคป (อัตราร้อยละ 0) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามปกติ (อัตราร้อยละ 20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this Experimental reseach were to compare patients’ satisfaction in nursing service and revisit rate between colposcope clinic patients receiving colposcpe clinic nursing service model and routine nursing service. The research subjects composed of 40 patients who had diagnosed of abnormal cervical smear test and using nursing service for colposcope clinic, The King Chulalongkorn Memorial Hospital, experimental and control groups of 20 patients per group. Case selected by purposive sampling. The instruments were training project of nursing service model for colposcope clinic, training program, nursing practice guideline, nursing practice handbook, the document provides self care guidance for colposcope patient, the observation form of nursing practice, patient satisfaction in nursing service questionnaire and revisit record form, test for content validity by 6 experts. The Cronbarch’s alpha coefficients were .96. Data were analyzed were by frequency, percent, mean, standard diviation, t-test, and Chi-square test. Major findings of this study were as follow: 1. Patients’ satisfaction in nursing service of colposcope clinic patients receiving nursing service model for colposcope clinic (X̅=4.80, SD=.22) was higher than those receiving routine nursing service (X̅=3.43, SD=.31), and was significant at the .05 level. 2. Revisit rate in colposcope clinic patients receiving nursing service model for colposcope clinic (0%) was later than those receiving routine nursing service (20%), and was significant at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44613 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.759 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.759 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577187336.pdf | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.