Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44614
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญาen_US
dc.contributor.authorศิริญญา ชุ่มเต็มen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:27Z-
dc.date.available2015-08-21T09:30:27Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44614-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและอำนาจการทำนายของอาการปวดข้อ การเผชิญความปวด ภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า คุณภาพการนอนหลับ ความสามารถด้านการทำหน้าที่และความเชื่อด้านความเจ็บป่วยกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีอายุระหว่าง 20 – 59 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคข้อและรูมาติสซั่ม ในโรงพยาบาลตำรวจ และคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 150 คน เลือกโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินการเผชิญความปวด(เชิงรุก/เชิงรับ) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินความสามารถด้านการทำหน้าที่ แบบประเมินความเชื่อด้านความเจ็บป่วยและแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาค่าความเที่ยงเท่ากับ.91, .77/.91, .82, .94, .70, .90, .73 และ.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1.คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยรวมอยู่ในระดับดี (X=440.36 ,SD=173.10) 2.อาการปวดข้อ การเผชิญความปวดเชิงรับ ภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ความสามารถด้านการทำหน้าที่ที่ไม่ดีและความเชื่อด้านความเจ็บป่วยทางลบมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=-.412,-.514,-.631,-.704,-.469,-.608,และ-.720 ตามลำดับ) 3.การเผชิญความปวดเชิงรุกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.312) 4.ความเชื่อด้านความเจ็บป่วย ความเหนื่อยล้า ความสามารถด้านการทำหน้าที่ ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพการนอนหลับ สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ผ่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05(F=68.58) และร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 71.8(R2=.718) โดยสร้างสมการทำนายในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Zคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ = -.298 Zความเชื่อด้านความเจ็บป่วย -.252 Zความเหนื่อยล้า -.231 Zความสามารถด้านการทำหน้าที่ -.192 Zภาวะซึมเศร้า -.136 Zคุณภาพการนอนหลับen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this predictive correlational study were to describe health-related quality of life to predict between joint pain, pain coping, depression, fatigue, sleep quality, functional ability and illness beliefs, and health-related quality of life. One hundred and fifty out- patients with rheumatoid arthritis aged 20-59 years old, who follow up at the Department of Rheumatology of the Police general hospital and Faculty of Medicine Vajira Hospital by a multistage random selection. Questionnaires were composed of The Demographic Patients’ Data, The short form of the McGill Pain Questionnaire, the Pain Coping Inventory, Beck Depression Inventory, the Multidimensional Assessment of Fatigue ,the Pittsburgh Sleep Quality Index, Health Assessment Questionnaire Disability Index, the Brief Perception Questionnaire ,and the Short Form Health Survey-36. All questionnaires were tested for content validities by five panel of experts, and the alpha cronbach reliabilities were .70 to .93. Descriptive statistics (Percentage, mean, and standard deviation), Pearson’s production-moment correlation and Stepwise multiple regression were used to analyze data. The major findings were as follows 1.Mean score of health-related quality of life in patients with rheumatoid arthritis was in good level. (X=440.36 ,SD=173.10) 2.There were negatively significant relationships between joint pain,passive pain coping, depression, fatigue, poor sleep quality, funtional disability ,negative illness beliefs,and health-related quality of life at the level of .05 (r=-.412,-.514,-.631,-.704,-.469,-.608,and -.720 respectively) 3.There was positively significant relationships between active pain coping and health-related quality of life at the level of .05 (r=.312) 4.Illness beliefs, fatigue ,functional ability, depression and sleep quality were the variables that significantly predicted health-related quality of life at the level of .05(F=68.58).The predictive power was 71.8% (R2 = .718) of the variance. The equation derived from standardize score was: Z health-related quality of life = -.298 Zillness beliefs -.252 Zfatigue -.231 Zfunctional ability -.192 Zdepression -.136 Z sleep qualityen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.760-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ -- ผู้ป่วย
dc.subjectความเจ็บปวด
dc.subjectคุณภาพชีวิต
dc.subjectRheumatoid arthritis -- Patients
dc.subjectPain
dc.subjectQuality of life
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์en_US
dc.title.alternativePREDICTING FACTORS OF HEALTH-RELATED QUALITY OF LIFE IN PATIENTS WITH RHEUMATOIDARTHRITISen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.760-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577200836.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.