Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44632
Title: | การวิเคราะห์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา |
Other Titles: | AN ANALYSIS OF INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS OF PHRAPARIYATTIDHAMMA SCHOOLS IN GENERAL EDUCATION DIVISION |
Authors: | พิทยา จันทร์วงษ์ |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nuntarat.C@chula.ac.th |
Subjects: | ภาวะผู้นำ -- ไทย ผู้บริหารโรงเรียน -- ไทย โรงเรียน -- การบริหาร -- ไทย Leadership -- Thailand School administrators -- Thailand School management and organization -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติจริงตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติจริงตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากร วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ศึกษาระดับการปฏิบัติจริงตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ผู้บริหาร จำนวน 164 คน และ 2) ครูผู้สอน จำนวน 305 คน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติจริงตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 15 พฤติกรรม ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน มี 2 พฤติกรรม องค์ประกอบที่ 2 การจัดการด้านหลักสูตรและ การเรียนการสอน มี 5 พฤติกรรม และองค์ประกอบที่ 3 คุณลักษณะความเป็นผู้นำทางวิชาการและการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน มี 8 พฤติกรรม 2) ผลการศึกษาระดับการปฏิบัติจริงตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ทุกองค์ประกอบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติจริงตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ องค์ประกอบที่ 1 โดยรวม มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ส่วนองค์ประกอบที่ 2 และ 3 โดยรวม มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The objectives of this study aimed to 1) analyze the instructional leadership factors of administrators, 2) study the level of actual performance regarding factors of administrators according to the opinions of administrators and teachers, and 3) compare the level of actual performance regarding factors. Interviewing with 20 experts was conducted to analyze and identify the factors. Data were analyzed by frequency, percentage, and content analysis. Questionnaires were used to collect the quantitative data in order to study the level of actual performance regarding factors. The data were given by 2 groups of sample population comprising 164 administrators and 305 teachers, and were analyzed by mean and standard deviation. And t-test was used to compare the level of actual performance regarding factors of administrators. The research results were as follows: 1. The instructional leadership factors consisted of 3 factors and 15 behaviors: 1) to define the school mission containing 2 behaviors; 2) to manage the curriculum and instructional programs having 5 behaviors; and 3) the characteristics of instructional leadership and to promote school climate with 8 behaviors. 2. In general, the level of actual performance regarding factors, as perceived by administrators and teachers, was at a high level. 3. When comparing the actual performance regarding factors, it turned out that the general mean difference fell at a significance level of .05. While considering each factor, the first factor had no mean difference, but the second and the third factors had mean difference at a significance level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44632 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.770 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.770 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583330627.pdf | 6.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.