Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์en_US
dc.contributor.authorพริมรตา เดชอุดมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:41Z
dc.date.available2015-08-21T09:30:41Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44643
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลังและประสบการณ์ของผู้กำกับละครโทรทัศน์ที่มีผลงานใน ละครเวทีและภาพยนตร์ 2) ศึกษาแนวคิดของผู้กำกับละครโทรทัศน์ในการสร้างสรรค์ผลงานละครในสื่อที่แตกต่างกัน 3) ศึกษากลวิธีในการเชื่อมโยงสื่อที่ผู้กำกับแต่ละคนใช้ในการกำกับการแสดงละครโทรทัศน์ โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาผู้กำกับการแสดงจำนวน 6 คนด้วยวิธีแบบสหวิธีการ (multi metodology) ได้แก่ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participant observer) ในฐานะนักแสดง การสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (documentary research) รวมถึงสัมภาษณ์นักแสดงที่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับผู้กำกับการแสดงดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ภูมิหลัง ด้านการศึกษา ความสนใจ และประสบการณ์ในการกำกับการแสดงเรื่องต่างๆมีอิทธิพลต่อวิธีการกำกับการแสดง และสามารถจำแนกผู้กำกับการแสดงออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ที่เคยมีผลงานการกำกับการแสดงภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ที่เคยมีผลงานการกำกับการแสดงละครเวทีและภาพยนตร์ และผู้กำกับละครโทรทัศน์ที่เคยมีประสบการณ์ในฐานะอื่นคือ นักแสดง และนักเขียน สามารถจำแนกแนวคิดในการสร้างสรรค์งานได้ 6 ประการ คือ 1) มีความเข้าใจชีวิต 2)เข้าใจหลักการแสดง 3)มีความสามารถในการเล่าเรื่อง 4)เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้แก่สังคม 5)มีความเชี่ยวชาญด้านองค์ประกอบศิลป์ 6)ตระหนักในความเป็นอุตสาหกรรมบันเทิง ด้านกลวิธีในการเชื่อมโยงสื่อ พบว่า มีการเชื่อมโยงคุณลักษณะด้านเทคนิค และคุณลักษณะด้านปรัชญาจากทั้งละครเวทีภาพยนตร์เข้าสู่ละครโทรทัศน์ ผ่านหลักการกำกับการแสดงที่ผสานระหว่างประสบการณ์จากมุมมองเฉพาะบุคคล การมีจิตวิทยาในการทำงานร่วมกับทีมงาน และต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านวิธีการกำกับการแสดง พบว่า ผู้กำกับที่มีประสบการณ์จากภาพยนตร์จะเน้นภาพรวมของละคร มากกว่าการแสดง ส่วนผู้กำกับการแสดงอีก 2 กลุ่มจะเน้นรายละเอียดด้านการแสดงมากกว่า โดยใช้วิธีการสื่อสารเพื่อให้นักแสดงเข้าใจบริบทของเรื่องและคุณลักษณะตัวละคร การกำกับนักแสดงใหม่จะใช้วิธีสร้างความผ่อนคลายก่อนที่จะให้แสดง สำหรับปัญหาที่ผู้กำกับจะต้องเผชิญสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประการ คือ บทละครไม่สมบูรณ์ ทักษะการแสดงของนักแสดง ทัศนคติในการทำงานระหว่างทีมงาน และ ปัญหาเชิงเทคนิคนอกจากนี้ยังพบว่าผู้กำกับการแสดงส่วนใหญ่มักมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการผลิตละคร ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการตัดต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาทางการแสดง และเติมเต็มเรื่องราวให้สมบูรณ์ขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe research objectives are; 1) Study the background and experiences of television drama directors who have directed stage plays and films. 2) Study concept of creation in different media. 3) Study strategies in linking other media to the television drama directed. The qualitative research method is conducted on this thesis. This research study on 6 directors by the multi-methodology: participatory observations as an actor, in-depth interview, data collect from documents and also interviewing actors who had experience in working with the directors. The research finding illustrated that academic background, personal interest and directing experiences influenced on their production which can be classified into 3 groups 1) The television drama directors who have directed film. 2) The television drama directors who have directed stage plays and films. And 3) The television drama directors who have experienced as an actor and script writer. Regarding to creative and production approach, research result can identified in 6 approaches; 1) Understanding real life approach 2) Presenting acting concept approach 3) Narration approach 4) Social contribution approach 5) Art and composition approach and 6) Entertainment industrial business approach The research outcome also elucidated linkage procedure which television drama directors use to nexus their production with other media. They integrate from stage plays and films mainly approach in overall presentation much more than acting techniques and performance details. In contrast, other two types of director are mainly concern on acting techniques and performance details more than overall presentation. This research also found 4 main obstacle problems which director normally facing; defective drama script, imperfect acting skill, teamwork attitude and working technique problem. In addition, research finding showed that most directors participated in every processes of their production including film edited process in order to finalized some unexpected problem and complete their overall production.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.776-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสารในภาพยนตร์
dc.subjectผู้กำกับรายการโทรทัศน์
dc.subjectผู้กำกับการแสดงละคร
dc.subjectผู้กำกับภาพยนตร์
dc.subjectภาพยนตร์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
dc.subjectโทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
dc.subjectละคร -- การผลิตและการกำกับรายการ
dc.subjectCommunication in motion pictures
dc.subjectTelevision producers and directors
dc.subjectTheatrical producers and directors
dc.subjectMotion picture producers and directors
dc.subjectMotion pictures -- Production and direction
dc.subjectTelevision -- Production and direction
dc.subjectTheater -- Production and direction
dc.titleแนวคิดในการเชื่อมโยงสื่อและวิธีการในการกำกับการแสดงของผู้กำกับละครโทรทัศน์ที่มีผลงานในละครเวทีและภาพยนตร์en_US
dc.title.alternativeDIRECTING APPROACHS OF TELEVISION DRAMA DIRECTORS WHO HAVE DIRECTED STAGE PLAYS AND FILMSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThiranan.A@Chula.ac.th,tiranan_a@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.776-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584868128.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.