Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44712
Title: ปัจจัยในการสร้างเอนไซม์เบต้า-แลกแทมเมสชนิดครอบคลุมและ/หรือค่าจุดตัด ของความเข้มข้นระดับต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อสามารถทำนายผลการรักษาทางจุลชีววิทยาในผู้ป่วยกรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลันที่เกิดจากแบคทีเรียเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีที่รักษาโดยยาเซฟไตรแอ็กโซน
Other Titles: Factors of extended-spectrum beta-lactamase production and/or minimal inhibitory concentration breakpoint predicting microbiologic outcome in patients with acute pyelonephritis caused by Enterobacteriaceae treated with ceftriaxone
Authors: พัณณวดี อุปถัมภ์นรากร
Advisors: ชุษณา สวนกระต่าย
โอภาส พุทธเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chusana.S@Chula.ac.th
opassid@gmail.com
Subjects: การดื้อยาในจุลินทรีย์
เอนไซม์จากจุลินทรีย์
เบตาแลกตาเมส
กรวยไตอักเสบ -- การรักษา
เอ็นเทอร์โรแบคทีเรียซี
ยาเซฟไตรแอ็กโซน -- การใช้รักษา
Drug resistance in microorganisms
Microbial enzymes
Beta lactamases
Pyelonephritis -- Treatment
Enterobacteriaceae
Ceftriaxone -- Therapeutic use
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภูมิหลัง : .ในปัจจุบันยังเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ในการรักษาเชื้อดื้อยาที่มีการสร้างเอนไซม์เบต้า-แลกแทมเมสชนิดครอบคลุม ว่าปัจจัยใดสำคัญที่สุดในการทำนายการรักษาระหว่างกลไกการดื้อยา หรือค่าจุดตัดของความเข้มข้นระดับต่ำสุด วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาว่าผลการรักษาทางจุลชีววิทยาในผู้ป่วยกรวยไตอักเสบเฉียบพลันที่เกิด จากเชื้อเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีขึ้นกับปัจจัยการสร้างการสร้างเอนไซม์เบต้า-แลกแทมเมสชนิด ครอบคลุมและหรือค่าจุดตัด ของความเข้มข้นระดับต่ำสุด วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบสังเกตไปข้างหน้าในผู้ป่วย ที่ติดเชื้อกรวยไต อักเสบ แบบ เฉียบพลัน โดย เชื้อแบคทีเรียกลุ่มเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีใน 3 โรงพยาบาลของประเทศไทย ช่วงระหว่างเดือนมีนาคมพ.ศ. 2555 ถึง มกราคม พ.ศ. 2556 โดย ผลการรักษาทางจุลชีววิทยา และคลินิก ประเมินที่ 48-72 ชั่วโมงหลังการให้การรักษา ด้วยยา เซฟไตรแอกโซน ผลการรักษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 97 รายในการศึกษา โดยอายุเฉลี่ย 73.16 +14.62 ปี โดยมีผู้ป่วย 48 ราย ( ร้อยละ 49.5 ) ที่มีค่า MIC (Minimal inhibitory concentration)ไวต่อยาเซฟไตรแอกโซน โดยในกลุ่มนี้พบมีการตอบสนองดีทางจุลชีววิทยา 47 ราย (ร้อยละ 97.9) โดยที่ผุ้ป่วย 49 รายมีค่า MIC ที่ดื้อต่อยาเซฟไตรแอกโซน โดยในกลุ่มนี้พบว่ามีการตอบสนองดีทางจุลชีววิทยา 32 ราย (ร้อยละ 65.3) ในการศึกษานี้พบว่ามีจำนวน 47 ราย (ร้อยละ 48.4) ที่ติดเชื้อแบคทีเรียที่มีการสร้าง เอนไซม์ ESBL โดยในกลุ่มที่มีการสร้างเอนไซม์ ESBL พบมีการตอบสนองทางจุลชีววิทยาเพียง 19 ราย (ร้อยละ 40.4 ) โดยในกลุ่มที่ไม่มีการสร้างเอนไซม์ ESBL พบมีการตอบสนองทาง จุลชีววิทยา 49 ราย (ร้อยละ 98 ) โดยเมื่อทำการวิเคราะห์แบบพหุคุณ (multivariate analysis) แล้วพบว่าปัจจัยที่สามารถทำนายการตอบสนองทางจุลชีวิวทยาในผู้ป่วย ติดเชื้อกรวยไตอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือการสร้างเอนไซม์ ESBL (odd ratio = 8.594, 95% CI 1.21-61.12, p=0.032) สรุป: ในการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่าผลการรักษาทางจุลชีววิทยาในผู้ป่วยติดเชื้อกรวยไตอักเสบ แบบเฉียบพลันสามารถทำนายผลการรักษาโดยปัจจัยในการสร้างเอนไซม์เบต้า-แลกแทมเมส ชนิดครอบคลุม
Other Abstract: Background: There is still a controversial issue about treatment of ESBL-producing Enterobacteriaceae whether minimal inhibitory concentration (MIC) susceptibility or resistance mechanism is the most reliable factor to predict the treatment outcome. Objective: To determine the microbiological outcome depending on which factor between MIC breakpoint and extended-spectrum beta-lactamase (ESBL) production. Materials and Methods: This is an observational prospective study carried out in patients with acute pyelonephritis caused by Enterobacteriaceae in 3 hospitals in Thailand from March 2012 to January 2013. The microbiological and clinical outcomes were evaluated at 48-72 hours after ceftriaxone treatment, and MIC breakpoint and ESBL production of each isolate were determined. Results: During the study period, there were 97 patients with the mean age of 73.16+14.62 years. There were 48 (49.5%) patients with MIC breakpoint in the susceptible range. In this susceptibility group, there were 47 (97.9%) patients with microbiologic response. Of 49 patients in the non-susceptibility group, there were 32 (65.3%) patients with microbiological response. Of 97 patients, there were 47 (48.4%) patients with ESBL production. Of these 47 patients, there were 19 (40.4%) patients with microbiologic response. Of 50 patients infected with non-ESBL-producing Enterobacteriaceae, there were 49 (98%) patients with microbiologic response. Multiple logistic regression analysis revealed that the factor determining response in acute pyelonephritis patients was ESBL production (odds ratio=8.594, 95% CI 1.21-61.12, P=0.032). Conclusions: The present study demonstrated that microbiologic response in patients with acute pyelonephritis may be determined by ESBL production of the causative organism.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44712
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.598
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.598
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pannawadee_up.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.