Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44752
Title: การเปรียบเทียบผลของการฝึกแรงต้านด้วยยางยืดและฟรีโมชั่นที่มีต่อความ เร็วและแรงของการเตะเหยียบลงในนักกีฬาเทควันโดหญิง
Other Titles: A comparison of 2 different resistance trainings on velocity and force of axe kick in female taekwondo athletes
Authors: วีนัส ดอกจันทร์
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: tonchaipat@hotmail.com
Subjects: เทควันโด -- การฝึก
Tae kwon do -- Training
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกแรงต้านด้วยยางยืดและการฝึกแรงต้านด้วยฟรีโมชั่นที่มีต่อความเร็วและแรงของการเตะเหยียบลงในนักกีฬาเทควันโดหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักกีฬาเทควันโดเพศหญิง ชมรมเทควันโดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18- 24 ปี จำนวน20 คนทำการแบ่งกลุ่มโดยใช้ความสามารถในการทรงตัวและความอ่อนตัวในท่างอสะโพกแบ่งเป็นกลุ่มฝึกแรงต้านด้วยยางยืด10 คน ทำการฝึกด้วยยางยืด ที่ความหนัก 12 Multiple RM และกลุ่มฝึกแรงต้านด้วยฟรีโมชั่น 10 คน ฝึกด้วยฟรีโมชั่นใช้ความหนัก 70% ของ 1 RM ทั้งสองกลุ่มฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา8 สัปดาห์ทำการทดสอบความเร็วและแรงของการเตะเหยียบลงก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 และทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการวัดซ้ำ (One way analysis of variance with repeated measures)และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่ม โดยการทดสอบค่าที (Independent t – test) ทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มฝึกแรงต้านด้วยยางยืดและกลุ่มฝึกแรงต้านด้วยฟรีโมชั่นมีความเร็วและแรงของการเตะเหยียบลงมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม พบว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มฝึกแรงต้านด้วยยางยืดมีการพัฒนาความเร็วและแรงของการเตะเหยียบลงมากกว่ากลุ่มฝึกแรงต้านด้วยฟรีโมชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกแรงต้านด้วยยางยืดและการฝึกแรงต้านด้วยฟรีโมชั่นสามารถพัฒนาความเร็วและแรงของการเตะเหยียบลงในนักกีฬาเทควันโดหญิงได้ โดยที่การฝึกแรงต้านด้วยยางยืดสามารถพัฒนาความเร็วของการเตะเหยียบลงในช่วงเริ่มยกเข่าขึ้นอย่างรวดเร็วและช่วงเตะเหยียบลงของปลายเท้าได้ดีกว่าและยังพัฒนาแรงของการเตะเหยียบลงได้ดีกว่าการฝึกแรงต้านด้วยฟรีโมชั่น
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the effects between elastic resistance training with free-motion resistance training on velocity and force in female taekwondo players. Twenty female taekwondo players from Chulalongkorn Taekwondo Club between 18-24 years of age were purposively selected and divided into two groups of ten subjects using balance ability and flexibility of hip flexion. Both groups were trained for three times a week for 8 weeks. The velocity and force of axe kick were taken before, after 4 and 8 weeks of the training. Mean and standard deviation were presented, One-way analysis of variance with repeated measures was used for test the differences of the mean within groups. If their existed differences, LSD was used. The level of significance was set at .05 throughout the study. The research demonstrated that after 4 and 8 week of the training, both-groups had significantly improved the velocity and force of axe kick when compared with thepretest. After 4 and 8 week of the training, the elastic resistance training group had higher velocity and force of axe kick than the free-motion resistance training group. In conclusion,The elastic resistance training and free-motion resistance training can increase speed and force of axe kick in female taekwondo athletes. In addition, the elastic resistance training improve speed and force of axe kick more than the free-motion resistance training.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44752
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1610
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1610
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
venus_do.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.