Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44757
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจิตรา สุคนธทรัพย์ | - |
dc.contributor.author | วัชฎา เพ็ญศรีสิริกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2015-08-25T11:46:15Z | - |
dc.date.available | 2015-08-25T11:46:15Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44757 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนากลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 510 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในส่วนแบบสอบถามมีค่าเท่ากับ 0.89 และในแบบทดสอบวัดความรู้มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เท่ากับ 0.96 ค่าความยากง่าย เท่ากับ 0.72 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 โดยแบ่งค่าความเที่ยงของแบบทดสอบวัดความรู้ ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.66 การรับรู้ความสามารถของตนเองในการบริโภคอาหารได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.90 ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบริโภคได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.82 การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการได้รับคำแนะนำสนับสนุนในการบริโภคอาหารได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.89 และพฤติกรรมบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานครได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 2.83,SD=0.84) โดยมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาดถูกสุขลักษณะ (ค่าเฉลี่ย =3.36,SD=0.73) อยู่ในระดับดีมาก และมีพฤติกรรมการ ล้างผัก ผลไม้สดแล้วแช่ในน้ำส้มสายชู ไว้นาน 5 นาทีอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย =2.21,SD=1.06) 2. ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและโภชนาการ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการบริโภคอาหาร ปัจจัยเอื้อ ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบริโภค ปัจจัยเสริม ด้านการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการได้รับคำแนะนำสนับสนุนในการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to study food consumption behavior of working people in Bangkok metropolis and factors related to food consumption behavior focusing on the relationship between predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors. This study was a descriptive research. Subjects were 510 working age people in Bangkok metropolis. Data collections were performed by using the questionnaire developed by the researcher. The content validity was tested by expert panel judge with IOC at 0.89 and the questionnaire was tested for content validity by panel of experts and the results was 0.96. The determination of difficulty was 0.72. Reliability of the entire was 0.90.By dividing reliability of the Knowledge test, was 0.89, And the questionnaire about attitudes toward dietary habit reliability was 0.66. Knowing self-ability in consuming in consuming has reliability at 0.90. The environment factor which provides the consumer has reliability at 0.82.Exposed to information about diet and were advised to consume a diet got reliability at 0.89. And dietary behavior of working age people in Bangkok metropolis reliability was 0.73. The data were analyzed by mean, percentile, and standard deviation. The relationship between each variable was tested by Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. Results The findings revealed as follows: 1. The overall food consumption behavior of working people in Bangkok metropolis were at good level (mean =2.83,SD=0.84). Consequently, consuming clean, hygienic, and well-cooked food behavior was at excellent level (mean =3.36,SD=0.73) and cleaning and soaking vegetable in vinegar for 5 minutes behavior was at good level (mean =2.21,SD=1.06). 2. There was a significant relationship between predisposing factors are food and nutrition knowledge, attitude toward food consumption, and self-efficiency in food consumption. Enabling factors were environment facilitates consumption and reinforcing factors are gaining new and also acquiring supportive advice about the relation between consumption behaviors at 0.05 levels. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1615 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การบริโภคอาหาร | en_US |
dc.subject | การบริโภคอาหาร -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | ลูกจ้าง -- สุขภาพและอนามัย | en_US |
dc.subject | Food consumption | en_US |
dc.subject | Food consumption -- Thailand -- Bangkok | en_US |
dc.subject | Employees -- Health and hygiene | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคคลวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | Factors related to food consumption behaviors of working people in Bangkok Metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suchitra.Su@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1615 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
watchada_pe.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.