Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44809
Title: การดัดแปลงข้ามสื่อ ละครเรื่อง "แม็คเบธ" ของ วิลเลียม เชกสเปียร์
Other Titles: Cross media adaptation of William Shakespeare’s “Macbeth”
Authors: ศรุต รัตนวิจิตร
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jirayudh.S@Chula.ac.th
Subjects: เชคสเปียร์, วิลเลียม, ค.ศ. 1564-1616 แมกเบท -- งานดัดแปลง
วรรณกรรมอังกฤษ -- งานดัดแปลง
Shakespeare, William, 1564-1616. Macbeth -- Adaptations
English literature -- Adaptations
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเล่าเรื่องและการดัดแปลงข้ามสื่อ ละครเรื่อง “แม็คเบธ” ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ที่ปรากฏในสื่อละครเวที ละครโทรทัศน์ แอนิเมชัน และภาพยนตร์ จำนวนทั้งหมด 12 เรื่อง โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ร่วมกับการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า โครงเรื่องในสื่อละครเวที ละครโทรทัศน์ แอนิเมชัน และภาพยนตร์ ยังคงปรากฏโครงเรื่องหลักเหมือนในบทละคร แต่อย่างไรก็ดี การดำเนินเรื่องในสื่อต่างๆมีการดัดแปลงให้มีลักษณะที่ต่างไปจากบทละคร ทั้งการตัดฉากที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวละครเอกออกและปรับเปลี่ยนตอนจบให้ต่างไปจากบทละคร การเพิ่มเส้นเรื่องที่ผ่านการถูกตีความใหม่อย่างเช่น เรื่องการทรยศหักหลัง การปะทะกันระหว่างศาสนาเก่าและใหม่ เป็นต้น รวมถึง ใส่เนื้อหาและเส้นเรื่องที่ตีความใหม่เพื่อให้เข้ากับบริบทของเวลาและสถานที่ที่เปลี่ยนไป แก่นเรื่องส่วนใหญ่ยังคงพูดถึงการกระหายกิเลสและอำนาจอันเกินขอบเขตศีลธรรมของมนุษย์เหมือนในบทละคร แต่มีบางเรื่องที่ปรับเปลี่ยนข้อคิดและแก่นเรื่องให้ต่างไปจากของเดิม ส่วนความขัดแย้งนั้น ส่วนใหญ่ยังคงปรากฏความขัดแย้งระหว่างตัวละครและความขัดแย้งภายในจิตใจที่มีลักษณะเช่นเดียวกับในบทละคร ทางด้านตัวละครเอกชายในสื่อต่างๆยังคงมีลักษณะร่วมที่เป็นชายผู้เก่งกาจในอาชีพการงานแต่กลับมีกิเลสและ ความอยากเหมือนแม็คเบธในบทละครอยู่ แต่บางเรื่องได้ปรับเปลี่ยนภูมิหลังของตัวละครเอกชายให้ตรงตามฉากหลังที่เกิดขึ้น ลดถอนความสูงศักดิ์ และปรับเปลี่ยนลักษณะของตัวละครเอกบางอย่างเพื่อให้สอดรับกับเนื้อหาที่ถูกเพิ่มเข้าไปในเรื่อง ส่วน ตัวละครเอกหญิงอย่างเลดีแม็คเบธ แม้จะยังมีลักษณะของผู้หญิงที่มีความปรารถนาแรงกล้าเหมือนในบทละคร แต่มีการนำเสนอภาพที่แตกต่างกันออกไป ทั้งภาพของหญิงที่มีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญดุจชายชาตรี ภาพของหญิงที่เก่ง ฉลาด มีเสน่ห์ และอ่อนโยน รวมถึงภาพของผู้หญิงที่ไร้เดียงสาและอ่อนแอ ตัวละครรองอื่นๆก็มีการปรับเปลี่ยนลักษณะตัวละครให้เข้ากับเนื้อเรื่องและฉากหลังที่ถูกปรับเข้ามาด้วยเช่นกัน ฉากที่ปรากฏในสื่อต่างๆส่วนใหญ่ถูกปรับเปลี่ยนทั้งเวลาและสถานที่ให้ต่างไปจากบทละคร แต่ยังคงปรากฏความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากกิเลสและบรรยากาศในเรื่องที่สะท้อนด้านมืดของมนุษย์อยู่เช่นเดิม ส่วนสัญลักษณ์นั้น ยังคงนำเลือดแม่มด และกริชมาสื่อความหมายเหมือนในบทละคร แต่บางเรื่องได้นำสัญลักษณ์มาขยายความหมายเพิ่มขึ้นกว่าบทละคร รวมถึง เพิ่มสัญลักษณ์ที่ไม่ปรากฏในบทละครเข้าไปเพื่อเน้นความหมายบางอย่างด้วย สุดท้ายคือ มุมมองการเล่าเรื่อง มีทั้งที่ยังคงเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้านในลักษณะเดียวกับบทละคร แต่บางเรื่องมีการตัดบทรำพึงออกและใช้ภาพ ท่าทาง และความคิดของตัวละครแทน รวมถึงปรับเปลี่ยนมุมมองการเล่าเรื่องให้ต่างไปจากบทละครเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการ
Other Abstract: This research aims to analyze narrative patterns and cross-media adaptation of William Shakespeare’s Macbeth in theaters, television dramas, animations, and films totaled 12 media by means of textual analysis, documentary research, and interview. The study result shows that most of adaptation still remains Shakespeare’s Macbeth in the dimensions of a story process and a narrative sequence. However, there are some omission of sceneries which do not concerned the protagonists’ actions, transformation of the ends, addition of new interpretive storylines such as treachery and conflicts between old and new religions, and also, insertion of new details and storylines in regard to the transformed contexts. In most of adaptation, theme of extreme desire for power is maintained. However, the theme and the message derived from the story are changed in some other adaptation such as balance of setting in the play, love and relationship in the family. In all adaptation, the conflicts between characters and their inner conflicts are similar to those in Shakespeare’s. In all adaptation, Macbeth is still characterized as a capable man with exceeded desire. However, in certain adaptation, his backgrounds are changed, his ranks of honor are lessened, and some of his characteristics are modified in regard to the transformed stories and contexts. Lady Macbeth is still presented as being obsessed with a desire for power in all adaptation. However she is variously characterized. For example, she is strong, assertive, and macho in certain adaptation while in some other media, she is intelligent, charming, and gentle and in some media, she is innocent and weak. Other supporting characters are also characterized and modified in according to the transformed story and context. In most adaptation, sceneries and context are changed while the turmoil and the sinister atmosphere are maintained. Blood, witches, and a dirk are still used as symbols in all adaptation. However, these symbols are further modified and the new symbols are introduced in some adaptation. Finally, the narrative points of view in most adaptation are still omniscient but in some adaptation, the soliloquies are replaced by the use of gestures, pictures, and thoughts and the points of view are changed in regard with the objectives of the adaptation producers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44809
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.62
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.62
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarut_ra.pdf7.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.