Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4482
Title: | การกำจัดไอของไซลีนโดยใช้เครื่องกรองชีวภาพ |
Other Titles: | Xylene vapor removal in a bench-scale biofilter |
Authors: | สุโรชา พูลสวัสดิ์ |
Advisors: | นพภาพร พานิช ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Charnwit@sc.chula.ac.th |
Subjects: | ไซลีน มลพิษทางอากาศ ตัวกรองชีวภาพ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาการบำบัดไอของไซลีนโดยใช้เครื่องกรองชีวภาพ 2 ชุดคือ ชุดที่มีตัวกลางหลักเป็นแกลบและกาบมะพร้าว โดยใช้ตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียและปุ๋ยคอก เป็นแหล่งจุลินทรีย์และแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ อัตราส่วนโดยปริมาตรระหว่างตัวกลางหลัก : ตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสีย : ปุ๋ยคอก เป็น 75 : 5 : 20 ในชุดการทดลองที่ตัวกลางหลักเป็นแกลบ เมื่อให้ระยะเวลาที่ไอของสารสัมผัสกับตัวกลางมีค่ามากกว่า 80 วินาที และช่วงความเข้มข้น 20-200 ppmv พบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดไอของไซลีนมีค่าระหว่าง 92-100% เมื่อระยะเวลาที่ไอของสารสัมผัสกับตัวกลางเท่ากับ 80 วินาที และช่วงความเข้มข้น 200-1200 ppmv พบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดไอของไซลีนมีค่าระหว่าง 7-30% ในชุดการทดลองที่ตัวกลางหลักเป็นกาบมะพร้าว เมื่อให้ระยะเวลาที่ไอของสารสัมผัสกับตัวกลางมากกว่า 65 วินาที และช่วงความเข้มข้น 20-200 ppmv พบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดไอของไซลีนมีค่าระหว่าง 93-100% และช่วงความเข้มข้น 200-1200 ppmv พบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดไอของไซลีนมีค่าระหว่าง 10-25% ความสามารถในการบำบัดไอของไซลีนโดยเฉลี่ยของทั้งสองชุดการทดลอง ตลอดการดำเนินการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่ความสามารถสูงสุดในการบำบัดไอของไซลีนในชุดตัวกลาง ที่เป็นแกลบและกาบมะพร้าวมีค่า 20.30 และ 28.44 กรัมต่อลูกบาศก์เมตรตัวกลางต่อชั่วโมง ตามลำดับ ดังนั้นเครื่องกรองชีวภาพที่ใช้กาบมะพร้าวเป็นตัวกลางหลัก จึงมีความสามารถในการบำบัดไอของไซลีนได้ดีกว่า และมีความเหมาะสมมากกว่าเครื่องกรองชีวภาพที่ใช้แกลบเป็นตัวกลางหลัก |
Other Abstract: | Two bench-scale biofilter columns were used to study xylene removal from a synthetic waste air stream. In the first column the main media was paddy husk while coconut husk was in the other column, the columns containing a mixture of sludge and manure as biomedia, the ratio of main media : sludge : manure was 75 : 5 :20 v/v. The biofilter containing paddy husk as main media, for empty bed residence time is more than or equal to 80 second and inlet xylene concentration 20-200 ppmv the removal efficiency was observed in the range of 92-100%. For empty bed residence time 80 second and inlet xylene concentration 200-1200 ppmv the removal efficiency was observed in the range of 7-30%. The biofilter containing coconut husk as main media, for empty bed residence time is more than or equal to 65 second and inlet xylene concentration 20-200 ppmv the removal efficiency was observed in the range of 93-100%. For empty bed residence time 65 second and inlet xylene concentration 200-1200 ppmv the removal efficiency was observed in the range of 10-25%. Elimination capacity of xylene between two columns were not different but xylene maximum elimination capacity of paddy husk and coconut husk as main media were 20.30 and 28.44 g/qb.m. media/hr, respectively. The biofilter containing coconut husk as main media provided higher maximum elimination capacity and more considerable quality than the other one |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4482 |
ISBN: | 9741749295 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surocha.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.