Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44843
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐา ทองจุล-
dc.contributor.advisorบัณฑิต ฝั่งสิทธุ์-
dc.contributor.authorปัณณธร ทวีเทพไทกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-01T08:28:38Z-
dc.date.available2015-09-01T08:28:38Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44843-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อพัฒนาสูตรอาหารทดแทนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีนมเป็นองค์ประกอบ ในการเลี้ยงเชื้อ B. animalis TISTR 1925 โดยคัดเลือกองค์ประกอบเบื้องต้นด้วยวิธี 23 full factorial design เพื่อเลือกองค์ประกอบที่สำคัญในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ส่งผลต่อการเจริญของเชื้อ ประกอบด้วยกากน้ำตาล สารสกัดจากยีสต์และยูเรีย จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าสารสกัดจากยีสต์ และความสัมพันธ์ระหว่างกากน้ำตาลกับสารสกัดจากยีสต์ให้ผลต่อการเจริญของเชื้อ แต่ยูเรียและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบไม่มีผลต่อการเจริญของเชื้อ โดยสมการหลายตัวแปรระบุว่าเมื่อเพิ่มปริมาณสารสกัดจากยีสต์จะส่งผลต่อการเจริญเพิ่มขึ้นแต่ถ้าเพิ่มปริมาณกากน้ำตาลจะส่งผลต่อการเจริญลดลง ดังนั้นจึงใช้วิธีการแบบ Steepest ascent เพื่อหาแนวโน้มของอัตราส่วนระหว่างองค์ประกอบทั้ง 2 ชนิดในอาหารเลี้ยงเชื้อ จากการทดลองได้ค่าความเข้มข้นของกากน้ำตาล 46.4 กรัมต่อลิตร และสารสกัดจากยีสต์ 10 กรัมต่อลิตร สามารถให้ค่าความเข้มข้นของเซลล์ได้สูงสุด จึงนำค่าอัตราส่วนที่ได้มาหาค่าความเข้มข้นขององค์ประกอบที่เหมาะสมด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบ Central Composite Circumscribed (CCC) พบว่ากากน้ำตาล 46.5 กรัมต่อลิตร และสารสกัดจากยีสต์อยู่ที่ 8 กรัมต่อลิตร เป็นปริมาณที่เหมาะสมที่ให้ความเข้มข้นของเซลล์สูงสุด เมื่อทดสอบจริงพบว่าให้ความเข้มข้นของเซลล์สูงถึง 9.2495 log10 โคโลนีต่อมิลลิลิตร สำหรับต้นทุนของวัตถุดิบในสูตรอาหารพบว่าถูกกว่าอาหาร Milk based 20.36 เปอร์เซ็นต์ และถูกกว่าอาหาร MRS 69.51 เปอร์เซ็นต์ จึงนำสูตรอาหารทดแทนมาศึกษาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงเชื้อในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 15 ลิตร พบว่าค่าความเร็วรอบในการกวนที่ 200 รอบต่อนาที ค่า pH ที่ 6.0 ให้ค่าอัตราการเจริญจำเพาะที่ 0.9835 ต่อชั่วโมง และปริมาณความเข้มข้นของเซลล์สูงสุดที่ 9.3116 log10 โคโลนีต่อมิลลิลิตรen_US
dc.description.abstractalternativeThis study was carried out for development of substitute for milk based medium for production of B. animalis TISTR 1925. An initial screening using a 23 full factorial design was used to identify the impact on cultures of the various components of the medium which were molasses, yeast extract and urea. Statistical analysis suggested that yeast extract and interaction of molasses and yeast extract had a significant positive effect on growth whereas urea variable and another interaction terms had negative effect. The regression equation indicates that increasing of yeast extract concentration would increase of bacterial growth, whereas increasing of molasses concentration would decrease of bacterial growth. Therefore, steepest ascent is used to investigate the ration of molasses and yeast extract. The results indicated that the highest viable cell count was obtained at molasses and yeast extract concentration 46.4 g/L and 10 g/L, respectively. The medium optimization by using a central composite circumscribed (CCC) design, indicated the optimum points of 46.5 g/L molasses and 8 g/L yeast extract. The repeated experiments were performed to verify the predicted optimum, viable cell count of 9.2495 log10 cfu/mL. The calculated cost of the raw materials used in the substituted medium developed could reduce cost effectively by 20.36 % and 69.51 % comparing to the milk based medium and MRS broth, respectively. The condition to improve the cultivation in a substituted medium developed the growth performance in a 15 L fermenter. The growth performance was improved when the culture condition at agitation speed 200 rpm and pH 6.0, specific growth rate of 0.9835 h-1 and maximum viable cell count of 9.3116 log10 cfu/mL.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1648-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยีสต์en_US
dc.subjectอาหารเลี้ยงเชื้อen_US
dc.subjectBifidobacteriumen_US
dc.subjectCulture media (Biology)en_US
dc.subjectYeasten_US
dc.titleการพัฒนาสิ่งทดแทนอาหารเพาะเชื้อที่มีนมเป็นองค์ประกอบและการหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิต Bifidobacterium animalisen_US
dc.title.alternativeDevelopment of substitute for milk-base medium and optimization for production of Bifidobacterium animalisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornuttha.t@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1648-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punnathorn_th.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.