Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44871
Title: | การศึกษาระดับความรุนแรงและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกจากที่สูงในโครงการก่อสร้างอาคารสูง |
Other Titles: | A study of severity levels and factors influencing the fall from high elevation in the high–rise building construction projects |
Authors: | วัชระ เจนวาริน |
Advisors: | นพดล จอกแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | noppadon.j@chula.ac.th |
Subjects: | อุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม อาคารสูง -- อุบัติเหตุ Industrial accidents Tall buildings -- Accidents |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงและปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสของการตกจากที่สูงในโครงก่อสร้างอาคารสูง โดยวิธีการศึกษาระดับความรุนแรงของการตกจากที่สูง ประกอบด้วยการพัฒนารายการของระดับความรุนแรงที่ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับจากการตกจากที่สูง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสูงกับระดับความรุนแรงที่ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับ และประมาณค่าของระดับความรุนแรงที่ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับเป็นเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตกจากที่สูงในอดีตในหน่วยงานก่อสร้าง และความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการตกจากที่สูง จำนวน 17 ราย หลังจากนั้นทำการศึกษาปัจจัย และระดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโอกาสการตกจากที่สูง โดยการรวบรวม และวิเคราะห์ระดับความสำคัญของปัจจัยโดยใช้การวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) จากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ 9 ราย ผลการวิจัยพบว่าสามารถแบ่งระดับของความรุนแรงของการตกจากที่สูงเป็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ไม่สามารถทำงานได้ชั่วคราว โดยหยุดงานไม่เกิน 3 วัน เทียบเป็นจำนวนวันสูญเสียเทียบเท่า 3 วัน ระดับที่ไม่สามารถทำงานได้ชั่วคราว โดยหยุดงานเกิน 3 วัน เทียบเป็นจำนวนวันสูญเสียเทียบเท่า 400 วัน ระดับที่สูญเสียอวัยวะบางส่วน เทียบเป็นจำนวนวันสูญเสียเทียบเท่า 4,033 วัน ระดับทุพพลภาพ เทียบเป็นจำนวนวันสูญเสียเทียบเท่า 6,000 วัน และระดับเสียชีวิต เทียบเป็นจำนวนวันสูญเสียเทียบเท่า 6,000 วัน ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อโอกาสการตกจากที่สูง ได้แก่ ปริมาณของเครื่องป้องกันการตก คุณภาพของการติดตั้งและประเภทของเครื่องป้องกันการตก ส่วนปัจจัยรองได้แก่ ความหนาแน่นคนงานและปริมาณพื้นที่ช่องเปิด ซึ่งผลการวิจัยทำให้เห็นความชัดเจนของความรุนแรงและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกจากที่สูง และความสำคัญของการป้องกันการตกจากที่สูงตามที่กฎหมายกำหนด |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the severity levels and the factors influencing the fall from high elevation in high-rise building construction projects. The research methodologies for study severity levels of the fall from high elevation consist of the developing the list of severity levels of injury due to fall from high elevation, analysis of relationship between the height of falling and severity levels of injury, and estimating the quantitative severity levels of the fall from high elevation by using historical data of accident in construction sites and the opinion of 17 persons who have experience of fall from hieght accident. And then, the factors and importance levels of factors influencing the fall from high elevation were studied and analyzed by using Analytic Hierarchy Process (AHP) and opinion of 9 professional safety engineers. The results of this research show that the severity levels of the fall from high elevation were classified into 5 levels such as temporary disability less than 3 days equivalent to a loss of 3 working-days, temporary disability more than 3 days equivalent to a loss of 400 working-days, permanent partial disability equivalent to a loss of 4,033 working-days, permanent total disability equivalent to a loss of 6,000 working-days and the death equivalent to a loss of 6,000 working-days. The main factors influencing the fall from high elevation are amount of fall protection, the quality of the fall protection installation and type of fall protection. The secondary factors are the density of workers (numbers of worker per working area) and the amount of opening space (hazard). The result of this research clearly showed the importance of the protection of the fall from high elevation following safety regulations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44871 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1664 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1664 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
watchara_je.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.