Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44881
Title: การใช้กลยุทธ์ของครูในการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กอนุบาล
Other Titles: Teachers’ use of scaffolding strategies to enhance early literacy skills of preschoolers
Authors: ศศิธร เมธีวรกุล
Advisors: วรวรรณ เหมชะญาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: worawan.h@chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
ครู
การรู้หนังสือ
การศึกษาขั้นอนุบาล
Learning
Teachers
Literacy
Kindergarten
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ ของครูในการส่งเสริมทักษะการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กอนุบาล 6 กลยุทธ์ คือ การใช้คำถามปลายเปิด การให้ข้อมูลย้อนกลับ การจัดระบบความคิด การระลึก การกำกับและควบคุมและการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสังเกต ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมครูมีการใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ในระดับมาก (X̅ = 4.10) กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การให้ข้อมูลย้อนกลับ (X̅ = 4.25) รองลงมาคือ การสอน (X̅ =4.24) และการใช้คำถามปลายเปิด (X̅ = 4.19) ส่วนกลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การจัดระบบความคิด (X̅ = 3.93) โดยครูสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ในระดับมาก (X̅ = 4.10) และ (X̅ = 4.13) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแต่ละสังกัด พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดของครูสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครคือ การสอน (X̅ = 4.27) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การจัดระบบความคิด (X̅ = 3.93) ส่วนครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การให้ข้อมูลย้อนกลับ (X̅ = 4.40) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำกับละควบคุม (X̅ = 3.88)
Other Abstract: The objective of this research was to study the teachers’ use of scaffolding strategies to enhance early literacy skills of preschoolers in 6 strategies; open-ended questioning, providing feedback, cognitive structuring, holding in memory, task regulation and instructing. The sample included 385 preschool teachers of level two in school under the Department of Education Bangkok Metropolitan Administration and the Office of Basic Education Commission. Research instruments consisted of the questionnaire form and observation form. The finding indicated: Teachers showed the use of scaffolding strategies at a high rate (X̅ = 4.10). The most used were providing feedback (X̅ = 4.25), instructing (X̅ = 4.24) and open-ended questioning (X̅ = 4.19) while cognitive structuring (X̅ = 3.93) was the least. Additionally, teachers in school under the Department of Education Bangkok Metropolitan Administration and the teachers in school under Office of the Basic Education Commission showed the use of scaffolding strategies at a high rate (X̅ = 4.10) and (X̅ = 4.13) respectively. Teachers in school under the Department of Education Bangkok Metropolitan Administration showed the most used was instructing (X̅ = 4.27) while cognitive structuring (X̅ = 3.93) was the least. And for the teachers in school under Office of the Basic Education Commission showed the most used was providing feedbacks (X̅ = 4.40) while task regulation (X̅ = 3.88) was the least.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44881
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1669
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1669
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sasithron_ma.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.