Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44882
Title: สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของครูภาษาไทยในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: State and problems of learning management of reading, analytical thinking and writing of Thai teachers in Islamic private schools in the three Southern border provinces
Authors: สิริอร จุลทรัพย์
Advisors: พรทิพย์ แข็งขัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: p.khaengkhan@gmail.com
Subjects: การเรียนรู้
การอ่าน
ความคิดและการคิด
การเรียนรู้แบบพินิจพิเคราะห์
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
โรงเรียนเอกชน -- ไทย (ภาคใต้)
Learning
Reading
Thought and thinking
Reflective learning
Critical thinking
Private schools -- Thailand, Southern
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของครูภาษาไทยในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 ด้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับครูภาษาไทย จำนวน 353 คน แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้กับครูภาษาไทย จำนวน 6 คน แบบสัมภาษณ์กับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและนักวิชาการศึกษา จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการจัดการเรียนรู้ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบเดิม โดยกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ครูใช้ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้โดยการให้นักเรียนวิเคราะห์ประโยคสำคัญ จุดประสงค์ของผู้เขียนและเนื้อหาของเรื่อง แล้วเขียนความเรียงสรุปความเข้าใจและใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มทำงาน ด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ พบว่า ครูใช้สื่อประเภทหนังสือและใช้แหล่งการเรียนรู้ประเภทห้องสมุดโรงเรียน และด้านการประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูประเมินหลังสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้และใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามระดับคุณภาพ 2. ปัญหาการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูขาดผู้แนะนำในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ นักเรียนส่วนใหญ่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ สื่อมีจำนวนจำกัดและขาดเอกสาร คู่มือการประเมินผลการเรียนรู้ 3.แนวทางการแก้ไขปัญหา ต้องส่งเสริมให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ก่อนและควรมีครูที่จบการศึกษาวิชาเอกภาษาไทย
Other Abstract: This research aims to study state and problems, and the solution for the learning setting in reading, analytical thinking and writing of Thai teachers in Islamic private schools in the three southern border provinces in 4 aspects. The method of data collection is done through questionnaire with 353 Secondary Thai teachers, observation of learning from 6 teacher and interview with educators and the head of Thai subject department 15. The data were analyzed by means of frequency, percentage and content analysis. The findings of the study were as follows: 1. the circumstance; in the design of learning setting, teachers normally designed learning matters in conventional way. In the creation of learning activities, teachers made their student analyzed main sentence, the purpose of an author and the content of the story, then write a comprehension summary, the group work technique is adopted. In using of tools and learning sources, teachers mostly used novel books and the school library. In evaluating the learning outcome, teachers evaluate students at the end of the course accordingly to the quality of the work 2. the problems are; teachers lack design counseling and under time limit, students have weak literacy skills, there are insufficient learning tools, lack of guideline in learning assessment. 3. Solutions are to promote student’s literacy and to have teacher with Thai language qualification.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44882
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1670
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1670
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirion_ju.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.