Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44884
Title: | การพัฒนารูปแบบการออกแบบบทเรียนสถานการณ์จำลองบนเว็บเพื่อพัฒนา ความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนเตรียมทหาร |
Other Titles: | Development of a design model for web-based simulation lessons to enhance decision making ability of pre-cadets |
Authors: | สุธาศินี เจริญยิ่ง |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Onjaree.N@Chula.ac.th |
Subjects: | แบบเรียนสำเร็จรูป การเรียนการสอนผ่านเว็บ การตัดสินใจ Programmed instruction Web-based instruction Decision making |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการออกแบบสถานการณ์จำลองบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนเตรียมทหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาทหารจำนวน 168 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนบนเว็บ บทเรียนสถานการณ์จำลอง และการตัดสินใจทางทหาร จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองออกแบบบทเรียนสถานการณ์จำลองบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนเตรียมทหาร เป็นครูผู้สอนวิชาทหารของโรงเรียนเตรียมทหาร จำนวน 5 คน โดยทดลอง ให้ครูผู้สอนออกแบบบทเรียนสถานการณ์จำลองบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนเตรียมทหารจากคู่มือ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการออกแบบบทเรียนสถานการณ์จำลองบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนเตรียมทหารประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก และ 16 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 1. ขั้นการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อยคือ 1.1) วิเคราะห์เป้าหมายบทเรียน 1.2) วิเคราะห์บริบทและทรัพยากรการเรียนรู้ 1.3) วิเคราะห์ผู้เรียน และ 1.4) วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นการวิเคราะห์เพื่อสร้างสถานการณ์จริงทางทหารที่เหมาะสมกับบทเรียนสถานการณ์จำลองบนเว็บ 2. ขั้นการออกแบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อยคือ 2.1) กำหนดวัตถุประสงค์ 2.2) ออกแบบเนื้อหาของสถานการณ์จำลอง ครอบคลุมสถานการณ์ที่คลุมเครือ สร้างความเครียด และต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด สำหรับเวลาในการจัดการเรียนรู้ 12 – 20 คาบเรียน 2.3) ออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน 2.4) ออกแบบโครงสร้างบทเรียน และ 2.5) ออกแบบปฏิสัมพันธ์ 3. ขั้นการสร้างและนำไปใช้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อยคือ 3.1) เขียนสตอรีบอร์ด (Storyboard) 3.2) สร้างงานกราฟิก 3.3) เขียนโปรแกรม 3.4) ทดลองใช้ และ 3.5) นำไปใช้จริง 4. ขั้นการประเมินผลสรุป ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อยคือ 4.1) ประเมินความสามารถในการตัดสินใจร้อยละ 100 เพื่อผ่านบทเรียน และ 4.2) ประเมินบทเรียน การออกแบบกิจกรรม ในแต่ละสถานการณ์จำลอง เพื่อพัฒนาให้นักเรียนเตรียมทหารได้พัฒนาความสามารถในการตัดสินใจ ต้องใช้กระบวนการตัดสินใจ 9 ขั้นดังนี้คือ 1) รับภารกิจ/ระบุปัญหา 2) วิเคราะห์ภารกิจ 3) รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 4) วางแผนงาน/พัฒนาแนวปฏิบัติ 5) กำหนดเกณฑ์เพื่อคัดเลือกทางเลือก 6) วิเคราะห์ปัจจัย ที่เป็นไปได้ 7) เปรียบเทียบแนวปฏิบัติ8) ผู้นำหน่วยตัดสินใจ 9) ประเมินผลและปรับการตัดสินใจใหม่ |
Other Abstract: | The purpose of this research study was to develop a design model for web-based simulation lessons to enhance decision making ability of pre-cadets. The samples for survey consisted of 168 military teachers and 15 experts specialized in web-based instruction, simulation and military decision making. The samples who designed web-based simulation lessons from a design model were five military teachers. Data were collected and analyzed by using frequencies, percentages and standard deviation. The research results were as follows: The research findings showed that a design model for web-based simulation lessons to enhance decision making ability of pre-cadets comprised four steps: 1. Analysis Step consists of four sub-steps : 1.1) goal analysis, 1.2) context analysis, 1.3) student analysis, and 1.4) content analysis; these analysis activities for creating real military situations for web-based instruction ; 2. Design Step consists of five sub-steps: 2.1) identify lesson objectives, 2.2) design content cover high level of stress and friction, lack of information, and time stress for approximately 12-20 periods of study, 2.3) design instructional strategy, 2.4) design content structure, and 2.5) design lesson interaction; 3. Development and Implementation Step consists of five sub-steps: 3.1) create storyboards, 3.2) create graphics for web-based lesson, 3.3) program web-based lesson, 3.4) trial run testing, and 3.5) deliver implement web-based simulation lessons; and 4. Evaluation Step consists of two sub-steps: 4.1) assess student decision making ability, and 4.2) lessons evaluation. In the step of instructional strategy design should cover nine steps of a process of web-based simulation instruction: 1) Receipt of mission, 2) Mission analysis, 3) Collective determine information, 4) Course of action development, 5) Identification of select course of action criteria, 6) Course of action analysis, 7) Course of action comparison, 8) Course of action approval, and 9) execution and assessment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44884 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1672 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1672 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sutasinee_ch.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.