Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44908
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดา ธนิตกุล-
dc.contributor.advisorกฤติกา ปั้นประเสริฐ-
dc.contributor.authorน.สุไฮดา สุไลมาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-03T02:53:12Z-
dc.date.available2015-09-03T02:53:12Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44908-
dc.descriptionวิทยานนท์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractกฎหมายศุลกากรเป็นกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจอีกฉบับหนึ่งที่ภาครัฐใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหารายได้และส่งเสริมการส่งออก โดยที่กฎหมายศุลกากรได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการส่งออกไว้หลายมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจทางการค้าระหว่างประเทศในขณะนั้น เช่น มาตรการด้านคลังสินค้าทัณฑ์บน เป็นต้น แต่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการมีมาตรการดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังได้มีการทำความตกลงเขตการค้าเสรี(Free Trade Agreement: FTA) ซึ่งเป็นมาตรการที่กำหนดไว้ในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านการลดหรือยกเว้นอากรขาเข้าได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีอัตราอากรขาเข้าสูง ในการใช้สิทธิประโยชน์ร่วมกันทั้งสองทางจะกระทำได้หรือไม่เพียงใดเพราะแต่ละมาตรการมีรายละเอียดและเงื่อนไขตลอดจนหลักกฎหมายที่ต่างกันไปนั้น พบว่ากฎหมายศุลกากรได้กำหนดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรด้านคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าไว้อย่างแคบและไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาในการตีความ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ผู้นำเข้าสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรทั้งสองประเภทร่วมกันได้ อันก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการผลิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้บรรลุตามเป้าหมายได้ ดังนั้น เพื่อให้กฎหมายศุลกากรสามารถใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารด้านเศรษฐกิจ และตอบสนองนวัตกรรมทางการค้าในปัจจุบันได้ ตลอดจนเพื่อให้เกิดความชัดเจนไม่ต้องอาศัยการตีความและเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการทุกราย ในการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร จึงควรให้มีการแก้ไขกฎหมายศุลกากรให้มีความหมายอย่างกว้าง เพื่อให้สามารถรองรับสภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันได้ นอกจากนี้ยังควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเร่งด่วนโดยการแก้ไขประกาศกระทรวงการคลังซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองก่อนอีกทางหนึ่งด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThe Customs Law is a public law relating to economy; it is implemented by government sector as a tool of revenue earning and promotion of exportation, by which promotion measures of exportation are designated to comply with economic situation and international trade at a certain time such as bonded manufacturing warehouse measure. Besides the said measure, Thailand has implemented the Free Trade Agreement (FTA) agreement which is an additional measure to the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT), providing the entrepreneurs the right in reduction or exemption of import duty, especially those of automobile industrial entrepreneurs that order goods with high rate of import duty. To jointly exercise both rights is questionable because each measure contains different details and conditions, including legal principles. However, it is obvious that the customs law has prescribed concisely and not so clear enough of the exercise of right of bonded manufacturing warehouse for manufactured goods. This has caused interpretation problem and the importers cannot exercise their rights at the same time and it has become an obstacle to the production and the development of automotives industry to the aimed target. Therefore, in order to utilize the customs law as a tool of the government in economic management and as a response to current commercial innovation, as well as clearness of the legal terms – without interpretation. And most of all, for fairness to all entrepreneurs, the relevant problems shall be permanently solved; the customs law should be amended to widely cover the implementation complying with the present economic situation. Moreover, the facing problem should be urgently solved by revising the ministerial regulation of the Finance Ministry, which is the by-law.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1689-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีธุรกิจเฉพาะen_US
dc.subjectภาษีรถยนต์en_US
dc.subjectกฎหมายศุลกากรen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมยานยนต์en_US
dc.subjectข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าen_US
dc.subjectAutomobiles -- Taxationen_US
dc.subjectCustoms lawen_US
dc.subjectMotor vechicle industryen_US
dc.subjectGeneral Agreement on Tariffs and Trade (Organization)en_US
dc.titleปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกรณีคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าร่วมกับความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ : ศึกษากรณีอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนen_US
dc.title.alternativeProblem of applying tax incentive on bonded manufacturing warehouse together with agreement between the Kingdom of Thailand and Japan for and economic partnership : a case study on automotives and auto parts industryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSakda.T@chula.ac.th-
dc.email.advisorkrittika9@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1689-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suhaida_su.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.