Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44909
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นครทิพย์ พร้อมพูล | - |
dc.contributor.author | นพธนิษฐ์ โชติสาร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-03T03:31:36Z | - |
dc.date.available | 2015-09-03T03:31:36Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44909 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มีการนำหลักวิศวกรรมซอฟต์แวร์มาใช้มากขึ้น แต่ยังมีคำถามเกิดขึ้นว่าหลักการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเพียงพอต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างมีคุณภาพหรือไม่ และจากการที่มนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในโครงการซอฟต์แวร์นั้น มนุษย์ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งต่อความสำเร็จของโครงการซอฟต์แวร์ในเชิงคุณภาพ โดยเรียกปัจจัยจากมนุษย์นี้ว่า "มนุษยปัจจัย" ซึ่งงานวิจัยนี้สนใจศึกษามนุษยปัจจัย ทางด้านจิตวิทยาของการมีอคติทางการรู้คิด โดยมองว่าการมีอคตินี้ น่าจะส่งผลต่อโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่จะนำมาซึ่งความเสียหายกับซอฟต์แวร์ได้ โดยศึกษาอคติเหล่านี้ในขั้นตอนแรก ๆ ของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ นั่นคือ ในกระบวนการรวบรวมและกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ และกระบวนการออกแบบซอฟต์แวร์ จึงน่าจะมีการประเมินปัจจัยความเสี่ยงในด้านนี้ด้วยในช่วงต้นของโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ในโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอวิธีการเพื่อสร้างแบบจำลองการประเมินความเสี่ยงต่อความเสียหายของซอฟต์แวร์ ในด้านการมีอคติทางการรู้คิดของมนุษย์ในทั้งสองกระบวนการ ผลการทดลองพบว่าสามารถพยากรณ์ความเสียหายได้ในระดับที่ต่ำถึงค่อนข้างต่ำ ซึ่งทำให้ในการคำนวณค่าความเสี่ยง ก็จะสามารถหาค่าความเสี่ยงซึ่งก็มีความสามารถในการพยากรณ์ต่ำด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถพยากรณ์ออกมาได้แม่นยำมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสียหายที่เกิดจากประเด็นทางด้านการมีอคติทางการรู้คิดเลย และพบว่ามีความสมเหตุสมผลในระดับหนึ่งกับลักษณะของการมีอคติในเชิงจิตวิทยา ที่อคติไม่ได้ส่งผลในแง่ลบเพียงแง่เดียว หรือส่งผลบวกเพียงแง่เดียว เช่นกันกับการมีอคติกับการทำงานในงานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งในกระบวนการรวบรวมและกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ และกระบวนการออกแบบซอฟต์แวร์ดังที่ได้ทำการวิจัย ในบางครั้งก็พบว่าการมีอคติมากเกินไป หรือน้อยเกินไปก็อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายได้มากกว่าการมีอคติในระดับปานกลางได้เช่นกัน ดังนั้นในการบริหารจัดการความเสี่ยง ควรที่จะให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เช่นกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวหรือความสำเร็จของโครงการได้เช่นกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Nowadays software engineering principles have increasingly been used in software industry. There is the question arising whether the existing software engineering principles are sufficient for the development of quality software. Humans are the most important resources in a software project. It seems to be one of the major factors for the success of a software project in terms of quality. The factor from human is called "Human factor". This research is interested in the study of behavioral perspective of human factor in term of psychology, especially cognitive bias that is likely to cause the damage of software development project. This may create a potential risk to software projects. The potential biases studied in this research are in the early stages of software engineering composed of the software requirements gathering and specification process and the software design process. This research aims to present a method to create a model for risk assessment in terms of the human cognitive bias that affects the process of requirements gathering and definition and software design process. The results showed that the prediction of damage levels were relatively low. This allows risk calculation will be able to determine the risks levels were relatively low too. Although the prediction was unable to forecast accurately, there was likely a cause of software damage from the issue of the cognitive bias and a reasonable extent on the nature of the psychological. The bias does not only result in a negative aspect but also results in a positive negative aspect to the work in software engineering in both the software requirements gathering and specification process and the software design process. It is sometimes found that the bias occurrence level as very low or very high has an effect to the software damage more than the occurrence level as medium. Therefore, in the risk management should focus on this issue as well since it may be the cause of the failure or success of the project as well. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1696 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา | en_US |
dc.subject | การรู้คิด | en_US |
dc.subject | การประเมินความเสี่ยง -- แบบจำลอง | en_US |
dc.subject | Computer software -- Development | en_US |
dc.subject | Cognition | en_US |
dc.subject | Risk assessment -- Models | en_US |
dc.title | แบบจำลองการประเมินความเสี่ยงของอัตราความเสียหายของซอฟต์แวร์จากการมีอคติทางการรู้คิด | en_US |
dc.title.alternative | Cognitive bias risk assessment model of software damage rate | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nakornthip.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1696 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
noptanit_ch.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.