Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44997
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุวดี ศิริ | - |
dc.contributor.author | ภาณุพงษ์ ชินมหาวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-04T08:01:54Z | - |
dc.date.available | 2015-09-04T08:01:54Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44997 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันการขายห้องชุด ราคาขายจะคำนวณจากราคาที่ดิน ค่าก่อสร้าง และค่าดำเนินการส่วนต่างๆโดยต้นทุนเหล่านี้ จะแปรผันออกเป็น 2 ส่วน คือ ห้องชุด กับสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเมื่อนำไปจดทะเบียนจัดตั้งอาคารชุดจะเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งอาคาร ซึ่งประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล กรรมสิทธิ์ส่วนกลางและกรรมสิทธิ์ร่วม ทั้งหมดนี้จะเฉลี่ยออกมาเป็นราคาขายต่อตารางเมตร สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนกลาง ดังนั้นการมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากเกินความเหมาะสมจะทำให้การกำหนดราคาขายต่อตารางเมตรสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการแข่งขัน และเป็นภาระแก่ผู้บริโภคทั้งต่อราคาห้องชุด และภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น ผู้วิจัยจึงสนใจถึงพฤติกรรมการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารชุด เพื่อที่จะหาความเหมาะสมโดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ จะศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารชุดพักอาศัยระดับราคา 60,000-130,000 บาทต่อตารางเมตร ศึกษาการให้ความสำคัญ การใช้งาน ความพึงพอใจ และการยินดีจ่ายต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ เพื่อเป็นการหาข้อสรุปของสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความเหมาะสม จำเป็น ส่งผลต่อความพึงพอใจ และยินดีจ่าย เพื่อดูแลให้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น ไม่ให้เสื่อมโทรมคงคุณค่าต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดพักอาศัย ในการจ่ายค่าส่วนกลางที่มีความเหมาะสมไม่เป็นภาระ และผู้ประกอบการในการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีความเหมาะสมไม่เป็นภาระต่อต้นทุนต่อไป จากการศึกษาสรุปผล โดยพิจารณาจากการให้ความสำคัญ การใช้งาน ที่สอดคล้องกับ ความพึงพอใจ และการยินดีจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความเหมาะสมที่ผู้บริโภคเห็นความสำคัญว่าควรมีไว้ในอาคาร ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย และสวนหย่อม เป็นต้น และจากการให้ความสำคัญ การใช้งาน ที่ไม่สอดคล้องกับ ความพึงพอใจ และการยินดีจ่ายค่าใช้จ่าย เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่มีความเหมาะสมที่ผู้บริโภคเห็นว่าสิ่งอำนวยความสะดวกบางประเภทนั้นเกิดความไม่พึงพอใจ เกิดการไม่ยินดีจ่าย ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้ ร้านอาหาร ร้านซักรีด เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และตู้น้ำหยอดเหรียญ เป็นต้น ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งนี้คือ สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความเหมาะสมนั้นผู้ประกอบการควรจัดสรรให้มีตามสัดส่วนของผู้พักอาศัย ซึ่งจะสร้างมูลค่า สร้างรายรับเข้ามาให้นิติบุคคลในการปล่อยเช่าพื้นที่ ซึ่งรายรับเหล่านี้จะนำมาช่วยแบ่งเบาค่าดูแลรักษากรรมสิทธิ์ส่วนกลางทั้งหลาย เพราะการเก็บค่าส่วนกลางของอาคารนั้นไม่สามารถเก็บได้ครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็ควรลดขนาด หรือตัดองค์ประกอบของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่มีเหมาะสมออกไปเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องภาระค่าใช้จ่าย และควรมีการวางแผนจัดเตรียมประเภท จำนวน ขนาดพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้สอดคล้องกับผู้อยู่อาศัยรวมทั้งบริบทโดยรอบของโครงการจึงจะไม่เป็นภาระในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | At present, the sale price for condominiums is calculated factoring in the cost of land, construction and operation. These costs are divided into two parts which are the condominium building and its facilities. The type of ownership of the condominium building may be registered as personal ownership, common ownership and co-ownership, which factors into the per square meter selling price. The facilities in a project however are co-owned. Therefore, a high level of facilities will lead to a higher selling price per square meter which affects competitiveness and is a burden for consumers both in terms of the room price and the maintenance cost for those facilities. The researcher is, therefore, interested studying the usage of facilities in condominiums to find the most appropriate level. The purpose of this research is to study residents’ opinions of facilities in condominiums with prices ranging from 60,000 – 130,000 baht per square meter to determine the level of importance, usage, satisfaction, and the willingness to pay for the facilities so that the facilities provided in a building are appropriate and necessary. This will be useful for the residents of the condominiums because they will be able pay a reasonable fee for the facilities they want and for the entrepreneur to prepare appropriate facilities which will not be a burden in terms of cost management. Based on the study, it can be concluded that considering the importance and usage in relation to satisfaction and willingness to pay for facilities, the most appropriate facilities for consumers are shops, convenience stores, swimming pools and gardens respectively. On the other hand, the facilities for which level of importance and usage which did not correspond to satisfaction and willingness to pay for facilities were restaurants, laundries, coin operated washing machines and coin water-vending machines respectively. Recommendations of this research are that appropriate facilities should be allocated according to the number of the residents. This would create value and income for the legal entity by renting out the space. The earnings could help lower the common ownership property maintenance cost since the common fee of the building can be difficult to collect. At the same time, the size and features of inappropriate facilities should also be limited to minimize the risk of expense. Type, number, size and location of the facilities should also be planned out so that they are appropriate for the residents and the surroundings and will not be a burden in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1722 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความพอใจ | en_US |
dc.subject | อาคารชุด -- สิ่งอำนวยความสะดวก | en_US |
dc.subject | Satisfaction | en_US |
dc.subject | Condominiums -- Facilities | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดพักอาศัย ระดับราคาปานกลาง ตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน สายรัชดาภิเษก : กรณีศึกษา โครงการ ลุมพินี เพลส พระราม 9 | en_US |
dc.title.alternative | Usage of facilities by residents in medium – priced condominiums along Rachadapisek MRT Line : a case study of Lumpini Place Rama 9 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Yuwadee.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1722 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panupong_ch.pdf | 10.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.