Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45019
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติ สนับบุญ-
dc.contributor.advisorกาญจนา โชติเลอศักดิ์-
dc.contributor.authorปรีญาภรณ์ วิถีสำราญธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-04T10:08:49Z-
dc.date.available2015-09-04T10:08:49Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45019-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractที่มา ภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองที่เกิดหลังการได้รังสีรักษาเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเพิ่มอัตราการเสียชีวิต วัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับรังสีรักษา วิธีการศึกษา วัดระดับฮอร์โมน ACTH, cortisol, FT4, TSH, IGF-I, prolactin, estrogen, testosterone, FSH, และ LH ในผู้ป่วยทุกรายที่เข้าร่วมการศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ผลการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจำนวน 121 คน เป็นเพศชาย 82 คน เพศหญิง 39 คน อายุตั้งแต่ 27-80 ปี พบภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมพิทูอิทารี่ 24 คน (ร้อยละ 20) ชนิดของฮอร์โมนที่มีจำนวนผู้ป่วยผิดปกติเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ secondary hypogonadism มีจำนวน 21 คน (ร้อยละ17.4), secondary hypothyroidism มีจำนวน 5 คน (ร้อยละ 4.1), hyperprolactinemia มีจำนวน 5 คน (ร้อยละ 4.1), GH deficiency มีจำนวน 1 คน (ร้อยละ 0.8), secondary adrenal insufficiency มีจำนวน 1 คน (ร้อยละ 0.8 ) ผู้ป่วยจำนวน 10 คนขาดฮอร์โมนของต่อมใต้สมองมากกว่า 1 ชนิด มีผู้ป่วยจำนวน 62 คนที่มี abnormal TSH และมีผู้ป่วย 26 คนมี borderline adrenal function พบว่าค่ามัธยฐานของระยะเวลาการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองคือ 48 เดือนหลังจากฉายรังสี นอกจากนี้พบว่าเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการศึกษา ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รังสีรักษาพบได้ร้อยละ 20 เพศหญิงมีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้ยืนยันถึงความสำคัญของการประเมินฮอร์โมนต่อมใต้สมองอย่างสม่ำเสมอเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Radiation-induced hypopituitarism is a complication leading to increased morbidity and mortality. Objective: To study the prevalence and risk factors of hypopituitarism in nasopharyngeal carcinoma patients who received radiotherapy. Subjects and Methods: Blood measured for cortisol, ACTH, FSH, LH, estrogen, testosterone, FT4, TSH and IGF-I in nasopharyngeal carcinoma patients. And analysis for the association of risk factors. Results: 121 nasopharyngeal carcinoma patients were included in this study. Age range 27-80 years old, 82 were males and 39 were females. 24 patients (20%) had hypopituitarism. The frequency of secondary hypogonadism, secondary hypothyroidism, hyperprolactinemia, GH deficiency and secondary adrenal insufficiency was 21 (17.4%), 5 (4.1%), 5 (4.1%), 1 (0.8%) and 1 (0.8%) patients, respectively. 10 patients had more than one pituitary hormone deficiency. 62 patients had abnormal TSH and 26 patients had borderline adrenal function. Median survival time to hypopituitarism was 48 months. Female gender was associated with hypopituitarism. Conclusions: Prevalence of hypopituitarism in nasopharyngeal carcinoma patients was 20%. The most common pituitary hormone deficiency was secondary hypogonadism. Female gender was associated with hypopituitarism. Our data support regular measurement of pituitary hormonal function to ensure timely diagnosis and early hormone replacement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1739-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectต่อมปิตุอิตารี -- โรคen_US
dc.subjectโพรงจมูก -- มะเร็งen_US
dc.subjectPituitary gland -- Diseasesen_US
dc.subjectNasal fossa -- Canceren_US
dc.titleความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับรังสีรักษาen_US
dc.title.alternativePrevalence of hypopituitarism in nasopharyngeal carcinoma patients after cranial radiotherapyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThiti.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1739-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
preeyaporn_vi.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.