Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45048
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | - |
dc.contributor.author | นนทน์ ฤทธิเลิศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-07T09:43:08Z | - |
dc.date.available | 2015-09-07T09:43:08Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45048 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์ กระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจำแนกตามเพศและสายการเรียน 2) เพื่อพัฒนาโมเดลอิทธิพลของเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และตัวแปรส่งผ่านที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และตัวแปรส่งผ่านที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระหว่างโมเดลที่ใช้ทฤษฎีเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 2x2 กับโมเดลที่ใช้ทฤษฎีเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 3x2 และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และตัวแปรส่งผ่านที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 658 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ independent samples t-test และ ANOVA วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์อิทธิพลเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำแนกตามเพศและสายการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าเฉลี่ยของกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกจำแนกตามเพศและสายการเรียนไม่แตกต่างกัน 2. โมเดลเชิงสาเหตุที่ใช้ทฤษฎีเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 2x2 และ 3x2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโมเดลเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 2x2 มีค่า x² = 5.110, p = 0.973, df = 13, x² /df = 0.393, GFI = 0.998, AGFI = 0.994 และ RMR = 0.003 ส่วนโมเดลเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 3x2 มีค่า x² = 7.497, p = 0.999, df = 25, x² /df = 0.300, GFI = 0.998, AGFI = 0.995 และ RMR = 0.003 แต่โมเดลที่ใช้ทฤษฎีเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 3x2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีกว่าโมเดลเชิงสาเหตุที่ใช้ทฤษฎีเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์แบบมิติ 2x2 โดยพิจารณาจากค่า x² /df ที่มีค่าต่ำกว่า 3. เป้าหมายมุ่งเปรียบเทียบบุคคลอื่นสู่ความสำเร็จ ความสนใจในห้องเรียนและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลทางตรงต่อกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป้าหมายมุ่งงานสู่ความสำเร็จ เป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดของตนเองและเป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงเปรียบเทียบบุคคลอื่นมีอิทธิพลทางอ้อมต่อกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก ส่วนเป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดของตนเอง เป้าหมายมุ่งเปรียบเทียบบุคคลอื่นสู่ความสำเร็จ เป้าหมายมุ่งหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบบุคคลอื่น ความสนใจในห้องเรียนและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to: 1) compare the difference between achievement goals, deep learning processes and achievement of students; grouping by gender and studying program; 2) develop the model, effects of achievement goals and mediators on deep learning processes and achievement of students; 3) investigate a consistency of the model, effects of achievement goals and mediators on deep learning processes and achievement of students with empirical data between model which using 2x2 achievement goals and the model which using 3x2 achievement goals; 4) examine the effects of achievement goals and mediators on deep learning processes and achievement of students. For this research, the sample is made up of 658 high school students who are studying at schools which are under the control of Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. Regarding data collection, questionnaires were employed in gathering primary data. The process of the data analysis was administered by using descriptive statistic, independent samples, t-test, ANOVA, examine the effects and investigate a consistency of the model by using LISREL analysis. The major findings were as follows: 1. The mean differences of achievement goals and achievement of students grouping by gender and studying program, is significant at the 0.05 level. However, deep learning processes there has no different. 2. The model which using 2x2 and 3x2 achievement goals are coherence with empirical data. The model which using 2x2 achievement goals has x² = 5.110, p = 0.973, df = 13, x² /df = 0.393, GFI = 0.998, AGFI = 0.994 and RMR = 0.003. The model which using 3x2 achievement goals has x² = 7.497, p = 0.999, df = 25, x² /df = 0.300, GFI = 0.998, AGFI = 0.995 and RMR = 0.003, it can be seen from the x² /df value of the model which using 2x2 achievement goals is lower than the model which using 2x2 achievement goals. As a consequence, the model which using 3x2 achievement goals appears to be more coherence than the model which using 2x2 achievement goals. 3. Other approach goal, interest in the classroom and self efficacy directly impact on deep learning processes. Deep learning processes directly impacts on achievement. Task approach goal, self avoidance goal and other avoidance goal indirectly impact on deep learning processes. Self avoidance goal, other approach goal, other avoidance goal, interest in the classroom and self efficacy indirectly impact on achievement. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.149 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | การรับรู้ตนเอง | en_US |
dc.subject | Academic achievement | en_US |
dc.subject | Learning | en_US |
dc.subject | Self-perception | en_US |
dc.title | อิทธิพลของเป้าหมายใฝ่สัมฤทธิ์และตัวแปรส่งผ่านที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้เชิงลึกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย : การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุคู่แข่ง | en_US |
dc.title.alternative | Effects of achievement goals and mediators on deep learning processes and academic achievement of upper secondary school students : competitive analysis causal models | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannee.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.149 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
non_ri.pdf | 5.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.