Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45063
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้โมเดลกราฟฟิติที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการร่วมมือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
Other Titles: | Effects of organizing Thai language learning activities by using the graffiti model on the reading comprehension ability and cooperative skills of eighth grade students |
Authors: | ประภาสินี ปิงใจ |
Advisors: | พรทิพย์ แข็งขัน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | p.khaengkhan@gmail.com, Porntip_edn@yahoo.com |
Subjects: | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) กิจกรรมการเรียนการสอน กราฟฟิตี้ การอ่านขั้นมัธยมศึกษา Thai language -- Study and teaching (Secondary) Activity programs in education Graffiti Reading (Secondary) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โมเดลกราฟฟิติที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการร่วมมือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และทักษะการร่วมมือของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลกราฟฟิติกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 สถานศึกษาโรงเรียน พิริยาลัยจังหวัดแพร่ จำนวน 89 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลกราฟฟิติ จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและ แบบประเมินทักษะการร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้วรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา การทดลองใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 คาบ รวมทั้งสิ้น 32 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบค่า t (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลกราฟฟิติมีความสามารถใน การอ่านเพื่อความเข้าใจหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลกราฟฟิติมีความสามารถใน การอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลกราฟฟิติมีทักษะการร่วมมือ หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลกราฟฟิติมีทักษะการร่วมมือสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1) to study the effects of organizing Thai language learning activities by using the graffiti model on the reading comprehension ability and the cooperative skills of eighth grade students; and 2) to compare reading comprehension ability and cooperative skills between a group learning by the graffiti model and a group learning by conventional instruction. The subjects were 89 eighth grade students in the 2012 academic year at Piriyalai School in Phrae Province. These subjects were divided into two groups: an experimental group learning by using the graffiti model, and a control group learning by conventional instruction. The instruments for data collection were a reading comprehension ability test and cooperative skills evaluation. The instruments for the experiment were lesson plans. The duration of the experiment was thirty-two periods over a span of eight weeks. Arithmetic means, standard deviations, and t-tests were utilized in the data analysis. The results were as follows: 1) students learning by using the graffiti model had higher reading comprehension ability after the experiment than before the experiment at the .05 level of significance; 2) students learning by using the graffiti model had higher reading comprehension ability than students learning by conventional instruction at the .05 level of significance; 3) students learning by using the graffiti model had higher cooperative skills after the experiment than before the experiment at the .05 level of significance; and 4) students learning by using the graffiti model had higher cooperative skills than students learning by conventional instruction at the .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสอนภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45063 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1243 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1243 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
prapasinee_pi.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.