Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4509
Title: สภาวะที่เหมาะสมของการบำบัดไนเตรตในน้ำทะเล ด้วยระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล
Other Titles: Optimization of nitrate treatment system for marine shrimp culture tank using the tubular denitrification reactor
Authors: วิลาสินี ไตรยราช
Advisors: เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
สรวิศ เผ่าทองศุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: piamsak@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน
คุณภาพน้ำ
กุ้งกุลาดำ -- การเพาะเลี้ยง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองนี้ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อยาวที่สร้างขึ้นจากท่อสายยาง PVC ความยาว 50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2.5 เซนติเมตร ภายในบรรจุวัสดุพลาสติกทรงกลม ไบโอบอล จำนวน 2,860 ลูก และมีการเติมเมธานอลความเข้มข้นร้อยละ 5 ในอัตราเร็ว 10 มิลลิลิตร/ชั่วโมง เป็นแหล่งคาร์บอนเข้าที่ตอนต้นของท่อ โดยการเติมเมธานอลจะถูกควบคุมโดยอัตโนมัติจากค่าศักย์ออกซิเดชัน-รีดักชัน (ORP) ที่มีการตรวจวัดจากหัวตรวจวัดบริเวณปลายท่อ เมื่อมีการปรับตั้งระบบให้หยุดเติมเมธานอลเมื่อค่า ORP ลดต่ำลงกว่าค่าที่ตั้งไว้ ทำให้ระบบท่อยาวสามารถบำบัดไนเตรตได้อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการสะสมไนไตรต์และไม่เกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ พบว่าระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดมากกว่าร้อยละ 80 การศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดของระบบบำบัดไนเตรต โดยนำระบบบำบัดไนเตรตติดตั้งกับระบบบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำประกอบด้วยบ่อรูปกลม (เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร) เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งและเชื่อมต่อกับบ่อบำบัดไนตริฟิเคชัน มีปริมาตรน้ำความเค็ม 25 พีเอสยู รวมทั้งระบบประมาณ 6,200 ลิตร และมีการหมุนเวียนน้ำระหว่างบ่อเลี้ยงและบ่อบำบัดตลอดเวลา ทำให้แอมโมเนียที่กุ้งขับถ่ายออกมาเปลี่ยนเป็นไนเตรตได้อย่างรวดเร็ว ในการทดลองได้จัดระบบเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ดังกล่าว 1 ชุด เป็นชุดทดลองที่มีการติดตั้งระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อยาว เปรียบเทียบกับบ่อควบคุมที่ไม่การติดตั้งระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อยาวทำการทดลองเลี้ยงกุ้งเป็นระยะเวลา 7 เดือน (210 วัน) โดยใช้กุ้งอายุ 4 เดือนที่จับมาจากบ่อดินจำนวนบ่อละ 50 ตัว และไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าระบบบำบัดไนเตรตสามารถควบคุมปริมาณไนเตรตได้เป็นอย่างดี โดยบ่อชุดทดลองมีความเข้มข้นไนเตรตต่ำกว่า 20 มิลลิกรัม ไนโตรเจน/ลิตร ในขณะที่บ่อควบคุมมีการสะสมไนเตรตสูงกว่า 80 มิลลิกรัม ไนโตรเจน/ลิตร และกุ้งในชุดทดลองมีการเพิ่มของน้ำหนักกุ้งจาก 24 กรัมเป็น 58 กรัม มีอัตรารอดร้อยละ 54 และมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักเฉลี่ยเป็น 0.16 กรัม/วัน ในขณะที่บ่อควบคุมมีการเพิ่มของน้ำหนักจาก 24 กรัมเป็น 63 กรัมมีอัตรารอดร้อยละ 38 และมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักเฉลี่ยเป็น 0.19 กรัม/วัน จะเห็นได้ว่ากุ้งในชุดควบคุมมีอัตรารอดต่ำกว่าชุดทดลอง ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการใช้ระบบบำบัดไนเตรตในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดเพื่อการเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำในโรงเรือนได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: This study illustrates the efficiency of tubular nitrate treatment system made of 50 m length PVC tube (2.5 cm in diameter) containing 2,860 plastic bioballs. Methanol, 5% concentration with 10 ml/hr feeding rate, was fed into the fore-part of the reactor as the sole carbon source. Addition of methanol was regulated by oxidation-reduction potential (ORP) controller via ORP probe connected at the end of the tubular reactor. With proper setting, denitrification reactor could be operated without nitrite accumulation and methanol feeding was automatically stopped when ORP reached below the setting point to prevent hydrogen sulfide production. The nitrate removal efficiency achieved was over 80%. Two indoor shrimp broodstock culture systems with closed recirculating seawater were used in this study. Each system consisted of round culture tank (diameter=3 m) connected with the nitrification tank. Water volume of each system was 6,200 L. Seawater (25 PSU) was recirculated between these two tanks so ammonia excreted from shrimp was rapidly converted to nitrate via nitrification treatment. With the experiment, 50 shrimps collected from outdoor shrimp pond were culture in each system for 7 months (210 days) without water exchange. It was found that tubular denitrification reactor performed excellent nitrate treatment. At the end of the experiment, nitrate concentration in treatment tank (with nitrate treatment system) was less than 20 mg-N/L while nitrate in control tank reached over 80 mg-N/L. Average weight of shrimp in treatment tank increased from 24 g to 58 g with average daily growth of 0.16 and 54% survival rate while average weight of shrimp in control tank increased from 24 g to 63 g with average daily growth of 0.19 and 38% survival rate. These results suggested the possibility of using nitrate treatment system for shrimp broodstock culture in the indoor closed recirculating seawater system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4509
ISBN: 9741752245
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilasinee.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.