Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45090
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนัสวาสน์ โกวิทยา-
dc.contributor.advisorศรีสว่าง เลี้ยววาริณ-
dc.contributor.authorกนกพร แสงปัญญารักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-08T07:27:24Z-
dc.date.available2015-09-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45090-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพสำหรับผู้ดูแลสุขภาพในสปา (2) ศึกษาผลการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่พัฒนาขึ้นไปใช้สำหรับผู้ดูแลสุขภาพในสปา (3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพผู้ดูแลสุขภาพในสปาไปใช้โดยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ(1) การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพสำหรับผู้ดูแลสุขภาพในสปา โดยศึกษาปัญหาและความต้องการการเรียนรู้เกี่ยวกับสมรรถนะอาชีพผู้ดูแลสุขภาพในสปาเพื่อนำมากำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้จากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลสุขภาพในสปาที่สำเร็จหลักสูตรฝึกอาชีพระยะสั้นการนวดแผนไทยของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจำนวน 120 คน (2) การศึกษาผลการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่พัฒนาขึ้นไปใช้สำหรับผู้ดูแลสุขภาพในสปา รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลสุขภาพในสปาที่สำเร็จหลักสูตรฝึกอาชีพระยะสั้นการนวดแผนไทยของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 22 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการอบรมแบบบรรยาย (3) การศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพผู้ดูแลสุขภาพในสปาไปใช้ โดยการอภิปรายกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพผู้ดูแลสุขภาพในสปามีองค์ประกอบของโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย 1.วัตถุประสงค์ 2. กลุ่มผู้เรียน 3.ผู้สอน/ครูพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม 4. เนื้อหาสาระ 5.กิจกรรมการเรียนรู้ช่วยเสริมศักยภาพ 6.ระยะเวลา 7.แหล่งความรู้และสื่อการสอน 8.สภาพแวดล้อม และ 9. การวัดผลและประเมินผล 2. ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ (1) กลุ่มทดลองมีความรู้ทางด้านการสื่อสารภาษาจีนกลางสำหรับผู้ดูแลสุขภาพในสปา และ ทักษะทางด้านการนวดบรรเทาอาการ 10 อาการหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) กลุ่มทดลองมีความสามารถทางด้านการสื่อสารภาษาจีนกลางสำหรับผู้ดูแลสุขภาพในสปา และความสามารถทางด้านการนวดบรรเทาอาการ 10 อาการหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (3) กลุ่มทดลองมีเจตคติทางด้านการสื่อสารภาษาจีนกลาง และ เจตคติทางด้านการนวดเพื่อเป็นผู้ดูแลสุขภาพในสปาหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพผู้ดูแลสุขภาพในสปาไปใช้ ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าปัจจัย ได้แก่ 1.ผู้เรียนมีแรงจูงใจ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ 2. ผู้สอน/ครูพี่เลี้ยงประจำกลุ่มมีการเตรียมความพร้อม มีเจตคติที่เป็นบวก 3. กิจกรรมการเรียนรู้ช่วยเสริมศักยภาพ ด้วยการเขียนอนุทินการเรียนรู้ของผู้เรียน 4.เนื้อหาและคู่มือการเรียนรู้สามารถทบทวนด้วยตนเอง 5. สภาพแวดล้อมมีบรรยากาศการให้กำลังใจช่วยลดความคับข้องใจของผู้เรียน และเงื่อนไข ได้แก่ 1.ผู้เรียนต้องมีความต้องการในการเรียนรู้ 2. ผู้เรียนต้องมีจำนวนที่เหมาะสมในการฝึกปฏิบัติ 3.ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 1 ปีและกำลังทำงานในอาชีพการนวดแผนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were: (1) to develop a non-formal education program for enhancing the career competency for spa therapists, (2) to implement a developed non-formal education program for enhancing career competency for spa therapists, (3) to analyze the relevant factors affecting the developed program. The research procedures were divided into three steps: (1) to develop a non-formal education program for enhancing career competency for spa therapists by needs assessment survey on problems and learning needs of 120 spa therapists who were achieved a vocational traditional Thai massage course from non-formal and informal education centers, (2) to study the result of the developed program implementation. The samples of the study consisted of 44 spa therapists who were achieved a vocational traditional Thai massage course from district non-formal and informal education centers. They were divided into 2 groups: an experimental group and a control group. An experimental group consisted of 22 spa therapists who were trained by the developed program, while the control group was consisting of 22 spa therapists who attended the normal program with the normal teaching method, and (3) to analyze the relevant factors affecting the developed program from group discussion of the experimental group. The research findings were as follows: 1. The non-formal education program to enhance career competency for spa therapists was consisted of 9 factors namely: objectives, learners, facilitators, content, learning activities, learning period, learning resources and media, environment, evaluation and assessment. 2. The results of the developed non-formal education program implementation were as follows: (1) The score of the knowledge in the communicative Chinese language for spa therapists and ten trigger-point therapy after the experimentation increased higher than the prior experimentation with statistical significant at level of .05 , (2) The score of the Chinese language communicative skill for spa therapists and ten trigger-point therapy skill after the experimentation increased higher than the prior experimentation with statistical significant at level of .05, (3) The score of the Chinese language attitude for spa therapists and the spa therapist career attitude after the experimentation increased higher than the prior experimentation with statistical significant at level of .05. 3. The relevant factors affecting the developed program of this research were composed of: (1)The motivation and learning intention of learners, (2) The readiness and positive attitude of an instructor or a group teacher assistants, (3) The learning activities with scaffolding by writing daily recording, (4) The simply contents and self-revision with learning manual, (5) The frustration reduction by encouraging learning atmosphere and environment. Conditions of the developed program were composed of: (1) The learning needs of learners, (2) The suitable numbers of learners for practicing, (3) A minimum of one year of working experience in a professional massage or spa.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.143-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectการศึกษาผู้ใหญ่en_US
dc.subjectการสื่อสารระหว่างบุคคลen_US
dc.subjectสมรรถนะen_US
dc.subjectNon-formal educationen_US
dc.subjectAdult educationen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพผู้ดูแลสุขภาพในสปาen_US
dc.title.alternativeThe development of a non-formal education program to enhance career competency for spa therapistsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManaswas.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.143-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
knokporn_sa.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.