Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45125
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorธนาศรี ศรีสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-10T02:07:04Z-
dc.date.available2015-09-10T02:07:04Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45125-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการค้นหาความเท็จจริงและการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาทำความเห็น การสั่งคดี การดำเนินคดี เพื่อให้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานปรากฏแก่ศาลในชั้นพนักงานอัยการมีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้พนักงานอัยการมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ทั้งบทบาทหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การดำเนินคดีของพนักงานอัยการมีวิธีการดำเนินคดีหลายรูปแบบ ไม่ว่าการดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง ซึ่งเป็นหน้าที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนมีพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พุทธศักราช 2478 พระราชบัญญัติ พนักงานอัยการ พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 และต่อมาเมื่อตราพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 ได้กำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดี คดีที่ต้องตั้งต้นที่พนักงานอัยการ หรือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่นนอกจากนี้ยังกำหนดให้มีมาตรการบังคับในการแสวงหาข้อเท็จจริงและการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานอัยการด้วยทั้งนี้เพื่อรองรับการทำหน้าที่ของพนักงานอัยการให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าปัจจุบัน การแสวงหาพยานหลักฐานและการรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อ ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานในฐานะเป็นผู้เริ่มต้นคดี ยังไม่มีกฎระเบียบที่กำหนดรูปแบบ วิธีการดำเนินการรองรับไว้ชัดเจน ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดไม่ครอบคลุม ส่งผลให้การปฏิบัติงานพนักงานอัยการไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานอัยการสูงสุดต้องดำเนินการออกกฎหมายและออกระเบียบที่ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินต่างๆ โดยเร็วen_US
dc.description.abstractalternativeThe action of the public prosecutor is to prosecute in many forms, whether criminal, civil or administrative proceedings that was provided before a Public Prosecutor Act, B.E. 2478, B.E. 2479 and B.E. 2498 until the Public Prosecutor Organization and Official Act, B.E. 2553 provided that the public prosecutors shall have power to search for the fact s and collect the evidences, examine a witness, issue an order to give a statement before them, issue an order to any person to give a statement before them, issue an order request either the documentary or material evidences to be submitted, and carry out any other proceedings as they deem appropriate as well as informing other competent authorities or government officials to perform any acts as they deem appropriate. In this regard, to compulsory measure to public prosecutors searching the fact s and collect the evidences in order to support the effective functioning of the public prosecutor in fulfill. However, the present study found that unless any regulations provided for form and means to search for the facts and collect the evidences in consistent with the provision of the law especially in the case that has to establish by public prosecutors and examination of the fact to proceed in accordance with the Constitution or other laws. As a result, the public prosecutors unable to perform their duties as appropriate. Therefore, the Attorney General's office attempt to enact the legislations or regulations for this case immediatelyanthropology.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอัยการen_US
dc.subjectพยานหลักฐานen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553en_US
dc.subjectPublic prosecutorsen_US
dc.subjectEvidenceen_US
dc.titleการแสวงหาข้อเท็จจริงและการรวบรวมพยานหลักฐานโดยพนักงานอัยการ : ศึกษาตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553en_US
dc.title.alternativeFact finding and sollection of evidences by the public prosecutor : the study on section 16 of Public Prosecutor Organization and Public Prosecutors Act B.E. 2553en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorviraphong.B@chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanasri_sr.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.