Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45132
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพย์นภา หวนสุริยา-
dc.contributor.authorวณัต ประทักษ์วิริยะ-
dc.contributor.authorศิรินทร์ทิพย์ เตยหอม-
dc.contributor.authorสุทัตตา กล่อมจิตต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2015-09-10T06:32:16Z-
dc.date.available2015-09-10T06:32:16Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45132-
dc.descriptionโครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557en_US
dc.descriptionA senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2014en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการยืนยันคุณค่าของตนเองต่อความโกรธ อารมณ์ และการแก้แค้นเมื่อถูกดูถูกโดยบุคคลในกลุ่มและนอกกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคปกติ ที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน ใช้การวิจัยแบบการทดลอง (Experiment) โดยมีตัวแปรต้น 2 ตัว ได้แก่ วิธีตอบสนองต่อความโกรธ (การยืนยันคุณค่าในตนเอง และการคิดหมกมุ่นในความโกรธ) และสถานะของหน้าม้าที่ดูถูกผู้ร่วมการทดลอง (นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยเดียวกัน และนิสิต นักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย) กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งเข้าสู่เงื่อนไขการทดลอง 4 เงื่อนไข ด้วยการสุ่มแบบจัดบล็อก (Block randomization) ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 25 คน ผู้ร่วมการทดลองในแต่ละเงื่อนไขต้องกรอกแบบฟอร์มข้อมูลส่วนตัวโดยย่อ และถูกดูถูกด้วยข้อความทางลบที่เขียนโดยหน้าม้าเพื่อกระตุ้นให้เกิดความโกรธ แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินความโกรธและอารมณ์ของตนเอง หลังจากนั้นผู้ร่วมการทดลองได้รับคำสั่งให้เข้าสู่เงื่อนไขวิธีตอบสนองต่อความโกรธ แล้วจึงประเมินแบบฟอร์มข้อมูลส่วนตัวโดยย่อของหน้าม้า และประเมินความโกรธและอารมณ์อีกครั้งหนึ่ง ผลการทดลองพบว่าวิธีตอบสนองต่อความโกรธไม่ส่งอิทธิพลต่อคะแนนความโกรธ แต่ส่งอิทธิพลหลักต่อคะแนนอารมณ์และคะแนนการตอบกลับด้วยการประเมินกลับหรือคะแนนการแก้แค้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่สถานะของหน้าม้าไม่ส่งอิทธิพลใดๆ ต่อทุกตัวแปรตาม ในกรณีที่หน้าม้าที่ดูถูกผู้ร่วมการทดลองเป็นคนในกลุ่ม แต่พบว่าวิธีตอบสนองต่อความโกรธกับสถานะของหน้าม้ามีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามทั้งสาม กล่าวคือ ผู้ร่วมการทดลองที่ได้ยืนยันคุณค่าในตนเองมีความโกรธน้อยกว่า มีอารมณ์ดีกว่า และมีพฤติกรรมแก้แค้นน้อยกว่าผู้ร่วมการทดลองในเงื่อนไขหมกมุ่นในความโกรธอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกรณีที่หน้าม้าที่ดูถูกเป็นคนนอกกลุ่ม ผู้ร่วมการทดลองในเงื่อนไขยืนยันคุณค่าในตนเองกับเงื่อนไขหมกมุ่นในความโกรธ มีคะแนนความโกรธ อารมณ์ และการแก้แค้นไม่ต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the effect of self-affirmation on anger, emotion, and revenge after being humiliated by ingroup and outgroup. Subjects were 100 undergraduate students of Chulalongkorn University, age over 18. The Experiment was used in this study by using 2 independent variables which are Anger Responses (Self-Affirmation and Anger Rumination) and the status of the claque that humiliated the subjects (Ingroup and Outgroup). The subjects were divided into 4 groups by using Block Randomization; 25 on each group. Subjects in each conditions needed to briefly registrated their biography and be humiliated by negative feedbacks that were responsed by the claque in order to make the subjects angry. Then the subjects have to evaluate Anger and Emotion scale. After that subject were ordered to be in Anger Response condition. Subjects have to evaluate the biography of the claques and evaluate Anger and Emotion scale again, respectively. The results shown that the response to anger hasn’t affected the Anger score, but mainly affected to Emotion score and reply score to the feedbacks or revenge score that is statistically significant. Meanwhile, the status of the claques hasn’t affected any of the dependent variables. It was found that Anger Response and the status of the claques relatively affected to all the dependent variables. In case that the claques that humiliated the subjects are ingroup, the subjects that were Self-Affirmed have a lower level in anger, have better emotion, and lesser in revenge action than those subjects in Anger Rumination condition statistically significant. In case of the claques that humiliated the subjects were outgroup, subjects in both condition weren’t different in Anger, Emotion, and Revenge score.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.882-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความโกรธen_US
dc.subjectอารมณ์en_US
dc.subjectอัตลักษณ์ทางสังคมen_US
dc.subjectการจัดประเภททางสังคมen_US
dc.subjectAngeren_US
dc.subjectEmotionsen_US
dc.titleผลของการยืนยันคุณค่าของตนเองต่อปฏิกิริยาตอบสนองการดูถูกโดยบุคคลในกลุ่มและนอกกลุ่มen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF SELF-AFFIRMATION ON RESPONSES TO HUMILIATION BY INGROUP AND OUTGROUPen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.authorthipnapa.h@chula.ac.th-
dc.subject.keywordSocial identityen_US
dc.subject.keywordSocial categorizationen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.882-
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wanut_pr.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.