Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45161
Title: | แนวทางการจัดการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยของครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา |
Other Titles: | Guidelines for organizing Thai culture instruction of social studies teachers at secondary school level |
Authors: | นภสร สิงหวณิช |
Advisors: | วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | p_walai@hotmail.com |
Subjects: | ครูสังคมศึกษา การสอน วัฒนธรรมไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) Thai culture -- Study and teaching (Secondary) Teaching |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังคมศึกษาจำนวน 291 คนเป็นครูมัธยมศึกษาตอนต้น 145 คนและครูมัธยมศึกษาตอนปลาย 146 คนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด 2 ชุด คือ แบบสอบถามสำหรับครูสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเนื้อหา ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าเนื้อหาวัฒนธรรมไทยที่ปรากฎอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษาที่ผู้วิจัยเสนอมีความเหมาะสมทั้งหมด 2) กิจกรรมในชั้นเรียน ครูสังคมศึกษา ส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าการวิเคราะห์ อภิปราย การใช้กรณีศึกษา และร่วมกันหาแนวทางอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในประเด็นของวัฒนธรรมไทยมีความเหมาะสมมากที่สุดที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในวัฒนธรรมไทย 3) กิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการนิมนต์พระสงฆ์มาในวันสำคัญทางศาสนา การจัดกิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ-วันแม่แห่งชาติ และการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนมีความเหมาะสมมากที่สุด 4) กิจกรรมร่วมกับชุมชน ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การเข้าค่ายเช่น ค่ายคุณธรรม-จริยธรรม และค่ายวัฒนธรรม ที่จัดร่วมกับคนในชุมชนมีความเหมาะสมมากที่สุด 5) การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของครูสังคมศึกษาที่มีความเหมาะสมที่สุดคือ อบรมสั่งสอนและเป็นที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมให้แก่นักเรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยและปฏิบัติตนเหมาะสมกับบุคคลและสถานที่ ทั้งการเป็นแบบอย่างที่ดีของครูถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้การเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยประสบความสำเร็จ 6) ด้านสื่อการเรียนการสอน ครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทย แหล่งความรู้ในโรงเรียนหรือชุมชน รูปภาพ รูปถ่าย สมุดภาพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย และรายการโทรทัศน์มีความเหมาะสมมากที่สุด 7) การวัดและประเมินผล ครูสังคมส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการสังเกตและการจัดสอบมีความเหมาะสมมากที่สุด |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study guidelines for organizing the instruction of Thai culture by social studies teachers at secondary school level. The focus of the research was 291 teachers, consisting of 145 lower secondary social studies teachers and 146 upper secondary social studies teachers. The experimental tools were 2 sets of questionnaires for teachers. The data were analyzed by frequencies, percentage, mean, standard deviation, and contents analysis. The research results revealed that: 1) content: most teachers agreed that all content proposed by the researcher were very appropriate 2) classroom activities: most teachers agreed that analysis, discussion, case study and proposal for restoring ancient historic sites and antiquities were the most appropriate to make students understand Thai culture better 3) extra curriculum activities: most teachers agreed that inviting monks for Buddhist festivals, and celebrating father’s and mother’s days and participating in student council election were the most appropriate 4) community activity: most teachers agreed that camps for ethics and culture, jointly organized with local people, were the most appropriate 5) role model: most teachers agreed that teaching, being a cultural advisor, participating in cultural activities and acting appropriately in accordance with the surrounding people and places were the most appropriate ways for teachers to be role models.6) material: most teachers agreed that historical movies ,school and community learning resources, pictures , photographs ,Thai culture photo albums, and television documentary programs were the most appropriate. 7) evaluation: most teachers agreed that observation and testing were the most appropriate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสอนสังคมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45161 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.80 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.80 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
noppasorn_si.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.