Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45174
Title: ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ประสบอุทกภัยในชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาเทศบาลนครปากเกร็ด
Other Titles: Psychological experience of flood survivors in resilient community : a case study of Pakkret municipality
Authors: เสาวภาคย์ ทวีสุข
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: tnattasuda@gmail.com
Subjects: ผู้ประสบภัย
น้ำท่วม
ชุมชน
จิตวิทยาเชิงบวก
จิตวิทยาการปรึกษา
Disaster victims
Floods
‪Communities
Positive psychology
Counseling psychology
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ประสบอุทกภัยในเทศบาลนครปากเกร็ด ซึ่งนับเป็นหนึ่งในชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ประสบอุทกภัยที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชนฝ่าฟันวิกฤตอุทกภัย 10 ราย ใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ประสบการณ์ทางจิตใจของประสบอุทกภัยในชุมชนเข้มแข็งแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) วิถีในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย การรับรู้ความเป็นอยู่ในชุมชน และการมีใจที่พร้อมช่วยเหลือ 2) การอุทิศตนเองเพื่อชุมชน ประกอบด้วย การมีความปรารถนาดีต่อชุมชน และการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชนอย่างเต็มที่ 3) การเผชิญความยากลำบาก ประกอบด้วย สภาพความยากลำบากที่เผชิญ และการยอมรับสภาพความยากลำบากที่เผชิญ 4) ความสุขท่ามกลางความลำยากบาก ประกอบด้วย การมองเห็นสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากชุมชน การรู้สึกดีที่ได้มีส่วนร่วมในชุมชน และชุมชนเป็นแหล่งพลังใจในการต่อสู้กับความยากลำบาก ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำความเข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ประสบอุทกภัยในชุมชนเข้มแข็ง และสะท้อนถึงคุณค่าของการร่วมกันฝันฝ่าวิกฤตของ ผู้ประสบอุทกภัยในการรับมือกับอุทกภัยที่เกิดขึ้น รวมทั้งนำผลการวิจัยมาใช้ในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในแง่ที่ให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงคุณค่าและความหมายจากการเผชิญความยากลำบากร่วมกันคนรอบข้างที่ผูกพันใกล้ชิด
Other Abstract: This study aimed to examine psychological experience of flood survivors in a resilient community, Pakkret Municipality. A Phenomenological Qualitative Research method was employed. Data were collected by in-depth interviews with 10 flood survivors who participated in and helped the community during the flood crisis. Findings indicated that psychological experience of the key informants could be divided into 4 themes as follows: 1) Way of living: The perceptions of community living and the willingness to help. 2) Dedication to the community: The good will in supporting the community and the participation in flood prevention effort. 3) Encountering the difficulties: Facing the difficulties and accepting them. 4) Happiness among the difficulties: Seeing the positivity that happened in the community, feeling delighted to be a part of the community and obtaining resources in coping with these difficulties. These research findings could be applied to better understand the psychological experience of flood survivors in resilient communities and to highlight the value of cooperation in overcoming flood difficulties. In addition, these findings could be applied to counseling to assist clients to realize the value in sharing the difficulties with those surrounding them.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45174
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1286
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saowaphak_th.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.