Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45259
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย มีชาติ-
dc.contributor.authorหัสญา พิมพ์สระเกษ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-12T07:33:53Z-
dc.date.available2015-09-12T07:33:53Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45259-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกไปปฏิบัติในจังหวัดนครราชสีมาของผู้ปฏิบัติงานในสังกัดกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ โดยใช้กรอบแนวคิดที่ดัดแปลงมาจากทฤษฎีของนักวิชาการด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ แวน มีเตอร์ และคาร์ล อี แวน ฮอร์น กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ ผู้ปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกทั้งในหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาค ซึ่งส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพข้าราชการในสังกัดกรมปศุสัตว์ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ปศุสัตว์อำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ผสมผสานกับวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการทำแบบสอบถาม จากนั้นนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงตรรกะและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1)ปัจจัยด้านบุคลากรผู้นำนโยบายไปเป็นปัจจัยที่ส่งผลและมีความสำคัญในทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานอันดับหนึ่ง มีคะแนนเฉลี่ย 3.89 มีระดับคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าปัจจัยผู้นำนโยบายไปปฏิบัติมีความสำคัญมากที่สุด 2)รองลงมาคือ ปัจจัยความชัดเจนของนโยบาย 3)ปัจจัยที่ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยทรัพยากร โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.81 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 4)หากวิเคราะห์ความสอดคล้องกันของผลการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค และการวิเคราะห์ผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า มีความสอดคล้องกัน คือ ผู้ปฏิบัติงานให้ความสำคัญกับปัจจัยความชัดเจนของนโยบาย และปัจจัยบุคลากรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติที่มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน จนกระทั่งสามารถขับเคลื่อนนโยบายให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to investigate and identify significant factor of the implementation of preventive and control avian influenza A (H5N1) policy in Nakhonratchasima province. The research reviewed conclusion by using policy implementation concept of Van Meter and Carl E. Van Horn which defined organizational issue, decisive and standard of public policy issue, dispositional issue and contexts of policy implementation issue. The research methodology is hybrid between qualitative method and quantitative method. The qualitative method involved document research, structured in-depth interview with 2 delegations of example groups: those who were key informant to implement the preventive and control Avian Influenza policy from 1) Headquarter of The Department of Livestock Development and 2) Nakhonratchasima Provincial Livestock Development Office. The quantitative method is to use questionnaire for description of implementation factors but each of significances statistic information in 11 districts of Nakhonratchasima province. The findings of this research were 1) The policy implementers factor was the most significant to well implement preventive and control avian influenza policy in operational level. Average point of implementer’s attitude toward the policy implementers factor is 3.89 2) The runner-up factor is decisive policy factor 3) The resource factors was least of support and should be fixed. The average point of implementers’ attitude toward the policy implementer factor is 2.81. 4) Quantitative result was relevanted to qualitative result which was found that policy implementer and decisive policy are the most effective factors toward success of policy implementation. Nonetheless, Implementers’ from headquarter of the department of Livestock Development have the same viewpoint as implementers in Nakhonratchasima Provincial Livestock Department Office that the clearly and decisive avian influenza policy affected to well implement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1309-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไข้หวัดนก -- การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะen_US
dc.subjectการนำนโยบายไปปฏิบัติen_US
dc.subjectAvian influenza -- Prevention and controlen_US
dc.subjectPublic policyen_US
dc.subjectPolicy implementationen_US
dc.titleการนำนโยบายป้องกันและควบคุมไข้หวัดนกไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.title.alternativeThe implementation of Avian influenza prevention and control policy : a case study of Nakhonratchasima provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwanchaimeechart@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1309-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hatsaya_pi.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.